X

PTSD โรคร้ายของทหารผ่านศึก

PTSD โรคร้ายของทหารผ่านศึก 

หลายๆคนมีความเชื่อผิดๆว่าทหารที่เคยผ่านสงครามหรือราชการสนามมาก่อน จะเป็นทหารที่มีจิตใจที่แข่งแกร่ง มีความอดทน อดกลั้น ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก เป็นทหารอาชีพที่แท้จริง แต่ความจริงนั้น พวกเขาจะต้องรับมือกับแรงกดดันมากมาย  ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ต่างๆที่มันอาจจะเลวร้ายเกินกว่าที่คนธรรมดาจะรับได้บางคนอาจจะมีภาพติดตาที่เป็นแผลในใจ 

หรือตราบาปของเขาไปตลอดชีวิต หรืออาจจะเป็นความภาคภูมิใจในหน้าที่ของตัวเองที่สามารถทำให้บรรลุได้เป็นต้น บทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับโรค PTSD โรคร้ายของทหารผ่านศึกกันครับ 

source: Veterans Day discounts available for active, former military in Western New York | wgrz.com

ผู้อ่านจำเหตุการณ์ที่ Chris Kyle หรือ American sniper ถูกเพื่อนทหารผ่านศึกที่อิรักที่เขาเคยช่วยชีวิตไว้ยิงเสียชีวิต ในสนามยิงปืนที่บ้านเกิดของตัวเองได้ไหมครับ นั่นคือผลกระทบจากของโรคนี้ซึ่งทำให้ทหารนายนั้นเกิดภาวะแปรปรวนทางอารมณ์อย่างรุนแรง 

แล้วเจ้า PTSD มันคืออะไรล่ะ ? เรามาดูคำตอบกันครับ 

source: What Are the Differences Between PTS and PTSD? | BrainLine

Chris Kyle 1 ในเหยื่อของผู้เป็นโรค PTSD ยิงเสียชีวิต

PTSD ย่อมาจาก Post-Traumatic Stress Disorder คือสภาวะการป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรงส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก (ไม่ใช่โรคซึมเศร้านะครับ) ผู้ป่วยโรคนี้ จะมีทั้งหมด 2 ระยะ 

ระยะที่ 1 ระยะทำใจ หรือ Acute Stress Disorder จะเป็นอาการช่วงแรกในระยะ 1 เดือน คืออาการเครียดเฉียบพลัน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการเครียดแล้วเกิดอาการทางประสาทขึ้นมาได้ 

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ผู้ป่วยเป็นจะโรคนี้ คือ กินระยะเวลานานมากกว่า 1 เดือน บางคนอาจจะยาวนานหลายเดือนถึงเป็น ปีแล้วแต่ความรุนแรงและสภาพแวดล้อมล้อมรอบตัวบุคคล มีลักษณะอาการสำคัญ 4 อย่าง 

– เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นตามมาหลอกหลอนอยู่บ่อยๆ หรือฝันถึงเหตุการณ์เหล่านั้นบ่อยๆ – เกิดความตื่นตัว เห็นเหตุการณ์นั้นๆกำลังจะเกิดขึ้นกับเรา ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ไม่ได้หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ตกใจง่าย ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ไม่มีสมาธิเครียดได้กับสิ่งต่างๆ รอบตัว – พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะส่งผลทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจ เช่น ภาพข่าวเหตุการณ์การพูดถึงจากบุคคลอื่น – มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ในเชิงลบ รู้สึกว่าชีวิตตัวเองหม่นหมอง ทั้งตัวเองและสิ่งรอบข้าง มีภาวะเหมือนโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงกล่าวคือ คิดว่าตัวเองด้อยค่าคงไม่มีความสุขได้อีกต่อไปแล้ว ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบหรือเคยทำมาก่อนอีกแล้วทำให้อาจคิดฆ่าตัวตาย หรือพึ่งสารเสพติดต่างๆ เพื่อต้องการให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นแต่จริงๆ แล้วอาจจะทำให้เกิดผลร้ายแรงยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว

source: What Are the Differences Between PTS and PTSD? | BrainLine

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเหตุการณ์ของทหารไทยที่ป่วยเป็นโรคนี้เมื่อปี2554 ที่เหตุการณ์เกิดถึง 3 ครั้งใน 2 เดือนครับ 30 ก.ค.2554 พลฯสรุศักดิ์บุญชูทหารเกณฑ์ซึ่งประจำการอยู่ที่หน่วยเฉพาะกิจยะลา 12 เกิดอาการควบคุมสติไม่อยู่ใช้อาวุธปืน M16 กราดยิงผู้บังคับบัญชายศร้อยโทเสียชีวิต หลังจากนั้นได้วิ่งไปจี้ชิงรถจักรยานยนต์ชาวบ้านและยิงชาวบ้านเสียชีวิตอีก 1 ราย ตรวจสอบเบื้องต้นทราบว่าพลทหารมีอาการเครียดเนื่องจากแม่ป่วยหนักเมื่อทราบว่านายทหารยศร้อยโท ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจะเดินทางไปธุระพลทหารจึงขอติดรถมาด้วย แต่ระหว่างทางคาดว่าอาจมีปากเสียงกันทำให้พลทหารคว้าอาวุธปืนที่วางอยู่เบาะหลังรถยิงใส่ผู้บังคับบัญชา และยิงชาวบ้านเพื่อชิงรถจักรยานยนต์หลบหนี 23 ส.ค.2554 มีพลทหารถูกยิงเสียชีวิต 1 นายและบาดเจ็บ 1 นาย ขณะปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยโรงเรียนโดยทหารที่ประสบเหตุทั้ง 2 นายคือพลฯเกษมศักดิ์แดงมณีกับพลฯนิรันดร์ผลทับและเป็นเพื่อนกับพลฯเกษมศักดิ์ทั้งคู่สังกัดหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี24 มีบาดแผลถูกยิงด้วย M16 หลายนัด จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุไม่พบหลักฐานว่ามีบุคคลอื่นอยู่ในละแวกดังกล่าวและหมู่บ้านที่เกิดเหตุก็ไม่ใช่พื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบจึงสันนิษฐานว่าทหารทั้งสองนายน่าจะยิงกันเอง 

14 ก.ย.2554 พลฯรุสลามมอและอายุสังกัดหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 เกิดอาการคลุ้มคลั่งขณะปฏิบัติหน้าที่เข้าเวร ยามอยู่ในฐานปฏิบัติการ ใช้อาวุธปืน M16 บุกยิงผู้บังคับบัญชายศพันจ่าเอกและจ่าเอกถึงในห้องทำงานทำให้มีผู้เสียชีวิต 2  นาย บาดเจ็บอีก 4 นาย ก่อนใช้อาวุธปืนกระบอกเดียวกันยิงตัวเองตายตาม 

ปัจจุบันอาการของโรคนี้อาจจะไม่รุนแรงเท่าสมัยก่อนเราจะพาคุณย้อนกลับไปยังสงครามโลกครั้งที่ 1 ครับ 

หลังสงครามโลกครั้งที่1 โรงพยาบาลจิตเวชและจิตแพทย์มีบทบาทเป็นอย่างมาก เนื่องจากทหารหลายนาย ต้องเผชิญอาการ ทางจิต ที่เป็นผลมาจากความกดดันในสนามรบ ตัวสั่น สับสน ฝันร้าย ควบคุมตัวเองไม่ได้เหมือนคนเสียสติโดยอาการนี้ถูก เรียกว่า Shell Shock คุณลองนึกภาพศพ เลือด ระเบิด แขนขาขาด และความกดดันในทุกๆวินาทีว่าจะอยู่หรือตายนั่นแหละครับคือสิ่งที่ทหารวัยรุ่นคนหนึ่งจะต้องเจอและรับสภาพกับมันในตอนนั้น

source: Post war | Poderosas imágenes, Dibujos espeluznantes, Fotos espeluznantes (pinterest.com)

หลายครั้งที่ทหารหลายนายยายามหนีออกจากสมรภูมิรบแต่กลับถูกกล่าวหาว่าขี้ขลาดทิ้งเพื่อนร่วมชาติทิ้งหน้าที่บ้างถูกยิงทิ้งเนื่องจากละเมิดวินัยทหาร บ้างถูกขังเดี่ยวโดยที่ไม่มีใครสนใจเลยว่าทหารที่กำลังตัวสั่นเหล่านี้กำลังป่วยทางจิตหรือไม่  ซึ่งเป็นเรื่องที่โชคร้ายมากๆ เพราะกว่าจะมีผู้คนพบวิธีรักษา ก็มาค้นพบตอนที่สงครามสิ้นสุดลงแล้วโดยผู้ค้นพบอาการและวิธีรักษาคือ นพ.อาเธอร์เฮิร์ท แพทย์ประจำโรงพยาบาลกองทัพ ซึ่งเป็นแพทย์เพียงคนเดียวในตอนนั้นที่เชื่อว่าคนพวกนี้ไม่ได้ขี้ขลาดและต้องรักษาให้ถูกวิธีเขารับทหารที่มีอาการนี้เข้ามารักษา และกว่า 90% ก็กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

source: Shell shock (een oorzaak voor PTSS) (wordpress.com)

โดยนายแพทย์อาเธอร์เฮิร์ท ได้บันทึกลงในบันทึกส่วนตัวว่า 

– ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการหลอน และจะสะดุ้งอย่างแรงทุกครั้งเมื่อได้ยินคำว่า ระเบิด! คำนี้จะทำให้พวกเขาสะดุ้งตื่นและลงไป หลบอยู่ใต้เตียง 

–จากการที่เราได้สอบถามผู้ป่วย ทำให้เราได้ทราบว่าคนไข้ไม่ได้อยู่หน่วยหน้าเสมอไป หน่วยไหนๆก็สามารถเป็นกันได้ – วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ การสะกดจิตทำให้สงบ , การชักจูงให้คิดถึงสิ่งดีๆ, การนวดผ่อนคลาย รวมถึงการควบคุมอาหารด้วย

หลังจากเหตุการณ์นั้นจึงทำให้สภาแพทย์ต้องทำการประชุม จนได้ผลสรุปให้เรียกอาการนี้อย่างเป็นทางการ ว่า War  Neurosis หรืออาการทางประสาทที่มีผลจากสงครามรัฐบาลอังกฤษจึงต้องออกมาขอโทษครอบครัวของทหารที่ถูกตัดสิน โทษเพราะอาการ Shell Shock โดยให้เหตุผลว่าตอนนั้นเราไม่รู้นี่หน่า… 

ภาวะป่วยทางจิตหลังสงครามจะมีอยู่ 3 ยุคสมัยด้วยกัน 

– สงครามโลกครั้งที่ 1 เรียกว่า Shell Shock  

– สงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า War Neurosis 

– ปัจจุบันเรียกว่า PTSD  

แล้วคนธรรมดาจะเป็นโรคนี้ได้ไหม ? 

คำตอบคือ เป็นได้ครับเพราะนิยามของโรคนี้ คือสภาวะการป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรงนั่นก็รวมไปถึง การถูกข่มขืนประสบภัยพิบัติประสบอุบัติเหตุเป็นต้นซึ่งผู้ป่วยอาจจะเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับการสูญเสียจากเหตุการณ์ทางอ้อมได้ครับ  

หากจะกล่าวถึงการป้องกันภาวะดังกล่าวคงไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากเป็นภาวะที่มีต้นเหตุมาจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้เมื่อเราผ่านเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงเราจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษาพูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด เป็นต้น ยิ่งเราเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะของโรคนี้น้อยลงตามไปด้วยนั่นเองครับ