X

สมรภูมิทุ่งลาดหญ้า ศึกชี้ชะตาสยาม

ในช่วง พ.ศ.2329 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์คองบองได้กรีธาทัพใหญ่เพื่อบุกกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในตอนนั้น ราชวงศ์คองบองของพม่าเริ่มมีเสถียรภาพ หลังจากขจัดปัญหาภายในและโจมตีแคว้นยะไข่ได้ คราวนี้พระเจ้าปดุงเลยหวังจะยกทัพมาตี รัตนโกสินทร์เพื่อครองความยิ่งใหญ่อีกครั้งโดย ได้ระดมพลรบถึง 134,000 – 144,000 นาย โดยถูกจัดตั้งทั้งสิ้น 9 กองทัพบุกมาพร้อมกัน 5 เส้นทาง โดยผมจะขอพูดถึงแค่ทัพหลวงซึ่งพระเจ้าปดุงเป็นคนนำไปเอง เพราะจะมีส่วนสำคัญในการศึกที่ทุ่งลาดหญ้าที่กำลังจะกล่าวถึงโดย ทัพหลวงของพระเจ้าปดุง ประกอบด้วยไพร่พล 88,000  -89,000 นาย อันประกอบด้วย

  1. กองทัพเมียนมุ่น 10,000 นาย เป็นกองทัพหน้าที่ 1
  2. กองทัพทัพเมียนเมวุ่น 5,000 นาย เป็นกองทัพหน้าที่ 2
  3. เจ้าชายศิริธรรมราชา 12,000 นาย เป็นกองทัพหน้าทัพหลวงที่ 1
  4. เจ้าชายสะโดเมงสอ 11,000 นาย เป็นกองทัพหน้าทัพหลวงที่ 2
  5. พระเจ้าปดุงคุมกองทัพหลวง 50,000 นาย

เส้นทางการเดินทัพของพม่า (เขียว) สยาม (แดง)

source : https://patr.io/YseZ8

โดยทั้ง 5 กองทัพใหญ่นี้จะเคลื่อนทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์ บริเวณกาญจนบุรีในปัจจุบัน หลังจากนั้นจะรอกองทัพอื่นๆที่อยู่ทางเหนือและทางใต้ตีเข้าบรรจบกรุงเทพฯ ช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2328 ทาง รัชกาลที่ 1 ได้ข่าวว่าพม่ากำลังระดมกองทัพใหญ่เข้าตีสยาม แต่พลเมืองของสยามมีจำนวนน้อย สามารถระดมทหารได้ราวๆ 70,000 นาย ทั้งนี้เมืองกรุงเทพฯ ไม่ได้มีปราการเข้มแข็งเหมือนอยุธยา รัชกาลที่ 1 เลยเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากเดิมที่รอตั้งรับในพระนครเป็นกระจายกำลังไปป้องกันตามจุดยุทธศาสตร์แทน โดยทัพหลวงของพระเจ้าปดุง 88,000 นายนั้น รัชกาลที่ 1 มอบหมายให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) ยกทัพจำนวน 30,000 นาย ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2328 ไปตั้งรบที่ทุ่งลาดหญ้าบริเวณเชิงเขาบรรทัด จังหวัดกาญจนบุรีในปัจจุบัน

วังหน้า ขณะบัญชาการรบ

source : https://patr.io/DWXVi

ทั้งนี้กองทัพพม่าแม้จะมีจำนวนมากแต่ก็มีปัญหาเรื่องเสบียงกรังทำให้ทหารอดอยากตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มรบ ทั้งนี้ วังหน้า ได้ตั้งทัพไปดักที่ปากทางลงเขาบรรทัดทำให้ กองทัพพม่าขนาดใหญ่กระจุกบนเขาจนมิสามารถลงมาหาเสบียงได้ ทั้ง 2 ฝ่ายต่างตั้งหอรบยิงปืนใหญ่ใส่กันจนได้รับบาดเจ็บล้มตายกันจำนวนมากจน วังหน้า ต้องขู่ว่าหากใครหนีทัพจะจับไปตำให้ตายในครกเหล็ก ครั้นฝ่ายสยามกระสุนเริ่มหมดเลย ต้องตัดไม้แถวนั้นมาทำกระสุน พอฝ่ายพม่าเห็นกระสุนลอยมาเป็นท่อนซุงก็ตกใจ ถึงกับบอกว่าถ้ารบกันแบบนี้ ฝ่ายสยาม กระสุนไม่มีวันหมดแน่!!

นอกจากนี้ วังหน้า ได้ส่ง พระองค์เจ้าขุนเณร นำกำลังส่วนน้อยออกไปลอบโจมตีกองเสบียงของพม่าที่มาเสริมตลอดเวลายิ่งทำให้ฝ่ายพม่าขาดเสบียงหนักยิ่งขึ้นจนขวัญกำลังใจเริ่มตกต่ำ มีช่วงหนึ่งที่ วังหน้า ได้ส่งกำลังเข้าตีพม่าแตกหักแต่ยังตีฝ่าไม่สำเร็จเพราะค่ายเข้มแข็งเกินทำให้ล่าถอยลงมา วังหน้า คิดกลอุบาย แกล้งเดินทัพบางส่วนออกในเวลากลางคืนแล้วก็เดินกลับมาเสริมในเวลากลางวันทำให้ฝ่ายพม่าเข้าใจผิดคิดว่าฝ่ายไทยมีกำลังมาเสริมมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับปัญหาขาดเสบียง และโรคระบาด จนเจ้าชายทั้ง 2 ของพม่าทูล พระเจ้าปดุง ให้ล่าถอยเสียก่อน แต่พระเจ้าปดุงบอกให้รอดูท่าทีก่อน

ขุนเณรทำสงครามแบบกองโจรตัดเสบียงพม่า

source : https://patr.io/0VqDh

ในช่วงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2329 วังหน้าเห็นว่าฝ่ายพม่าอ่อนแอเต็มที่จึงเข้าตีแตกหักอีกรอบ นำโดยพระยาเสือ ฝ่ายไทยใช้ปืนใหญ่กระสุนใหม่ชนิดใหม่ซึ่งจุดเพลิงที่ปลายไม้ซุง เมื่อยิงแล้วไปตกตรงไหนก็ไหม้ตรงนั้น จนทหารพม่าพากันดับไฟอย่างเจ้าละหวั่น พระยาเสือ ยกทัพเข้าตีค่ายพม่าแตกหักจนสามารถจับเชลยพม่าได้ 6,000 นาย ที่เหลือพากันหนีตายเจ้าละหวั่น ทัพหลวงของพม่าแตกพ่ายในที่สุด เมื่อทัพหลักกว่า 80,000 นาย แตกพ่าย ทำให้วังหน้าสามารถเดินทัพไปช่วยเหลือหัวเมืองอื่นที่โดนพม่าโจมตีได้ ทัพพม่าจึงแตกไปทีละทัพ เป็นเหตุให้ฝ่ายสยามชนะในการศึกครั้งนี้และสามารถรักษากรุงเทพฯ ไว้ได้

กระสุนซุงของสยาม

source : https://patr.io/ZMi8b