X

ลายพรางบนชุดฝึก มีที่มาอย่างไร ?

source : www.armytimes.com

เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า ชุดฝึกลายพรางที่ใส่กันอยู่ทุกวันนี้ มีที่มาจากอะไร ? และทำไมต้องเป็นสีแบบนี้ ? เขาสร้างกันขึ้นมา โดยอิงจากอะไร หรือคิดกันมั่วๆ วันนี้เราจะได้รู้กันว่า มีกระบวนการอย่างไรบ้าง กว่าจะออกมาเป็นสีของชุดพรางที่ใช้กับสมรภูมิต่างๆ ทั่วโลก

 

source : Tactical Gear and Military Clothing News

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วครับว่าชุดพรางได้เปลี่ยนจากลายพรางธรรมดามาเป็นแบบดิจิตอล โดยจุดประสงค์ก็เพื่อทำลายรูปร่างในการมองเห็นระยะไกลจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   

“โดยเจ้าแรกที่คิดค้นขึ้นมาอย่างกองทัพอเมริกา สามารถพัฒนาจนถึงขั้นที่กล้องอินฟราเรทไม่สามารถจับภาพได้ เพราะลายที่ออกแบบอย่างซับซ้อนและมีการเคลือบสารที่ช่วยในการสะท้อนแสงอินฟราเรท”

source : Reddit

แต่ถึงอย่างไร การพรางตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศนั้น เรื่องเฉดสีที่อยู่บนผ้าก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จึงต้องมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดและมีขั้นตอนที่ต้องเป็นไปตามกระบวนการเพื่อทำให้ใกล้เคียงกับสมรภูมิมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทำการรบที่ไหนก็ตาม

source : rodamarketing

โดยกระบวนการในการหาเฉดสีต่างๆนั้น จะเริ่มจากการนำสีจากตัวอย่างของดิน และภาพถ่ายของภูมิประเทศที่ต้องการ จากกล้องที่มีความแม่นยำเรื่องสีมากที่สุด เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วก็ส่งข้อมูลสีเข้าไปให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประมวลผลให้ได้เฉดสีที่ไล่เลี่ยกันออกมา โดยผ่านการวิเคราะห์สีที่มีความละเอียดมากๆ

โปรแกรมสามารถระบุสีนานาของใบไม้บนต้นไม้ และเฉดสีที่ต่างกันของเปลือกไม้ส่วนต่างๆได้ 

source : armytimes.com

หลังจากนั้นก็จะนำมาตัดชุด และนำชุดทั้งหมดมาทดสอบ ทั้งการประมวลผลจากสายตา และการวิเคราะจากเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งระยะใกล้และระยะไกล และนำข้อมูลมาสรุปว่าเฉดสีใดสามารถใช้พรางตัวได้แนบเนียนที่สุด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้กินระยะเวลาในการวิจัยนานพอสมควร

source: patriot Outfitในภาพแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบกับสภาพภูมิประเทศ

สำหรับกองทัพไทยที่หลายคนชอบประชดเหน็บแนมกันว่า แต่งตัวไม่เสร็จสักที ! นั่นเป็นเพราะว่ากองทัพมีการวิจัยและพัฒนาเฉดสีอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำให้ได้สีที่มีความใกล้เคียงมากที่สุด โดยใช้กระบวนการเดียวกันในการสร้างลายพราง และได้รับความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีจากกองทัพสหรัฐฯ

โดยสีชุดเครื่องแบบที่ใส่อยู่ในปัจจุบัน อย่างเช่น กองทัพบกนั้น บนชุดจะประกอบด้วยเฉดสีทั้งหมด 4 เฉดสีด้วยกัน คือ ดำ น้ำตาล เขียว และเขียวอ่อน โดยได้มาจากการนำสีจากภูมิประเทศในภาคต่างๆของไทยมาทับซ้อนจนกันได้ค่าเฉลี่ยที่ต้องการ และนำมาทดสอบการมองเห็น จนได้เป็นลายพรางที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ 

ถึงแม้ว่าจะมีกระบวนการในการสร้างลายพรางให้มีความแนบเนียนมากที่สุดเท่าใด แต่ก็ไม่สามารถทำให้ถูกใจทุกคนได้ ในบางสีบางปีของกองทัพสหรัฐฯ ทหารในกองทัพถึงขั้นต้องรวมตัวกันล่ารายชื่อเพื่อขอให้เปลี่ยนสีชุดพรางไปเลยก็มี ทำให้ต้องมานั่งพัฒนากันใหม่เพื่อให้ถูกใจกำลังพล และยังต้องมีความปลอดภัยสูงสุดในการปฏิบัติงาน

source: Mil.com,ชุดพราง NWU Type I ที่ US Navy หลายคนบอกว่าแย่ที่สุดที่เคยใช้มา

หลังจากรับรู้เรื่องราวทั้งหมดแล้ว คงทราบคำตอบแล้วว่าในการสร้างสีชุดพรางขึ้นมาแต่ละครั้งนั้นต้องอาศัยความละเอียดมากมาย และใช้เวลานานในการวิจัยและทดสอบนานนับปี เป็นความตั้งใจจริงจากคนเบื้องหลัง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคนเบื้องหน้าที่อยู๋ในสมรภูมิ

source: Mil.com