X

“The Emu War” สงครามระหว่าง มนุษย์ กับ นก!?

สงครามต่างๆที่เกิดขึ้น โดยปกติแล้วจะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสองประเทศ หรือบางครั้งอาจเกิดจากการขัดแย้งของคนในประเทศเอง แต่เชื่อมั้ยครับว่าครั้งหนึ่งเคยมีสงครามระหว่างมนุษย์ กับ นกอีมู ซึ่งเป็นครั้แรก และครั้งเดียวในหน้าประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ ทำสงครามกับสัตว์ และที่พีคไปกว่านั้นก็คือผลของสงครามครั้งนี้มนุษย์เป็นฝ่ายแพ้…ใช่ครับ นกอีมูเป็นผู้ชนะ!! สงครามที่ฟังดูไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นครั้งนี้จะมีที่มาที่ไปยังไง และมนุษย์พ่ายแพ้ให้นกอีมูได้อย่างไร วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟัง…

   

source : https://patr.io/hJJAW

source : https://patr.io/C5vkU

ประเทศออสเตรเลีย ปีค.ศ.1932 ณ เวลานั้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงได้ระยะหนึ่ง เหล่าทหารออสเตรเลียที่ไปรบในสงครามก็ทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หลังการรบมีทหารผ่านศึกตกงานเป็นจำนวนมาก รัฐบาลออสเตรเลียจึงต้องจัดหาพื้นที่ให้ทหารพวกนั้น เพื่อทำการเกษตรหาเลี้ยงชีพต่อไป

ในครั้งนั้นรัฐบาลได้บุกเบิกพื้นที่บริเวณออสเตรเลียตะวันตกให้เหล่าทหารแต่ก็ต้องพบกับปัญหาใหญ่ก็คือเจ้านกอีมูนั่นเอง นกอีมูเป็นนกขนากใหญ่มีลักษณะคล้ายนกกระจอกเทศ และวิ่งเร็วคล้ายกัน สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 50กม./ชม. นกอีมูตัวเต็มวัยสามารถสูงถึง 2เมตรได้เลย มันจะหากินอยู่รวมกันเป็นฝูง มีแหล่งที่อยู่อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียซึ่งมีจำนวนประชากรหลายหมื่นตัว หรืออาจจะถึงแสนตัวเลยทีเดียว นับว่าเป็นสัตว์เจ้าถิ่นเลยก็ว่าได้

   

source : https://patr.io/DWzxU     

ปัญหาเริ่มต้นขึ้นเมื่อทหารได้เข้าไปทำเกษตรกรรมหาเลี้ยงชีพตนเอง แต่ปลูกสักเท่าไรเจ้านกอีมูก็จะพากันมากินพืชผลทางการเกษตรจนเสียหายหมดทุกรอบ เมื่อเป็นเช่นนี้หลายครั้งเข้าเหล่าทหารจึงได้ร้องเรียนไปยังรัฐบาลว่าหาพื้นที่อะไรก็ไม่รู้มาให้ ประกอบอาชีพก็ไม่ได้เพราะถูกนกอีมูรบกวนตลอด รัฐบาลจึงบุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่บริเวณใกล้เคียงให้ แต่ก็ยังหนีไม่พ้นนกอีมูอยู่ดี ปัญหาเริ่มรุนแรงขึ้น ทหารเริ่มออกมาร้องเรียนมาขึ้น จนเรื่องไปถึง เซอร์ จอร์จ เพียร์ซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกะลาโหมในยุคนั้นซึ่งเป็นผุ้รับผิดชอบโดยตรงของโครงการบุกเบิกพื้นที่ให้ทหารครั้งนี้ เขาจึงตัดสินใจ ลงนามในคำสั่งประกาศสงครามกับนกอีมูทันที โดยสั่งให้ผู้พันเมเรดิธ นำกำลังทหาร 12นาย พร้อมกับอาวุธครบมือ รวมไปถึงอาวุธหนักคือ ปืนกลเลวิสจำนวน 2กระบอก และกระสุนจำนวนหนึ่งหมื่นนัดเข้าไปยังพื้นที่ทันที

   

source : https://patr.io/PlCAK

ปืนกลเลวิสเป็นอาวุธที่เลื่องชื่อในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างมาก เพราะมันมีอาณุภาพรุนแรง พลังการทำลายล้างสูง สามารถกำจัดข้าศึกหลายคนได้ในเวลาไม่นาน หน่วยทหารของผู้พันเมเรดิธจึงพกความมั่นใจมาเต็มร้อย เมื่อมาถึงหน่วยของเขาก็ได้ทำการตรวจภูมิประเทศ และได้พบกับฝูงนกอีมูขนาดใหญ่เต็มทุ่งหญ้าไปหมด หน่วยของผู้พันเมเรดิธไม่รอช้าตั้งปืนกล บรรจุกระสุน แล้วเปิดฉากการยิงทันทีหวังจะฆ่านกอีมูได้สักสองสามร้อยตัว แต่ผลที่ได้กลับทำให้พวกเขาประหลาดใจ เพราะความสามารถในการแตกกระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ ประกอบกับความรวดเร็วของมัน ทำให้มันสามารถหลบกระสุนปืนกลของทหารได้เป็นอย่างดี และวิ่งหนีออกไปพ้นระยะการยิงของปืนกลได้โดยแทบไม่ได้รับบาดเจ็บ การโจมตีครั้งแรกของทหารได้รับความล้มเหลว

   

source : https://patr.io/8h5zz

     

สองวันต่อมาฝ่ายทหารได้ทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธเนื่องจากไม่สามารถทำอะไรนกอีมูได้จึงจะลองใช้วิธีการ”ซุ่มโจมตี”ดู หน่วยทหารได้ทำการคลืบคลานเข้าไปในบริเวณสวนของชาวนา แล้วรอให้ฝูงนกอีมูเข้ามากินผลผลิตใกล้ๆ จากนั้นพวกเขาก็ทำการยิงใส่ฝูงนก การโจมตีครั้งนี้ดำเนินไปอย่างยาวนานจนปืนกลเลวิสติดเกิดอาการติดขัด และเสียไปหนึ่งกระบอก แต่ก็สามารถกำจัดนกอีมูไปได้เพียงไม่กี่สิบตัวเท่านั้น ทหารนายหนึ่งในหน่วยกล่าวว่า “นกอีมูไม่ได้โง่อย่างที่คิด ในหนึ่งฝูงมันจะมีหัวหน้าของมันอยู่ เป็นนกอีมูตัวใหญ่มหึมาสูงราวเมตรเก้าสิบขนสีดำทะมึน จ่าฝูงจะคอยสังเกตการณ์ในขณะที่นกตัวอื่นกำลังยุ่งกับการกินผลผลิตทางการเกษตรอยู่ และเมื่อจ่าฝูงสังเกตเห็นภัยคุกคามมันจะส่งสัญญาณให้นกในฝูงของมัน จากนั้นนกพวกนั้นก็จะพากันวิ่งหนี แต่ตัวจ่าฝูงจะยังไม่หนีมันจะรอให้ทุกตัวหนีไปหมดก่อนมันถึงจะวิ่งตามไปปิดท้าย”

อีกกลยุทธหนึ่งที่กองทัพออสเตรเลียใช้จัดการกับฝูงนกอีมูคือ การใช้รถกระบะติดปืนกลแล้วขับรถไล่ยิงนกอีมู ฟังดูเจ๋งแต่แผนนี้กลับพังไม่เป็นท่าและเป็นแผนที่ไม่เข้าท่าที่สุด เพราะความเร็ว และสเต็ปการวิ่งซิคแซคของนกอีมูทำให้พลยิงปืนกลเล็งไม่ทัน และสภาพภูมิประเทศที่ขรุขระ ทำให้การยิงให้โดนนกอีมูเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ แผนนี้ล้มเหลวลงด้วยการที่รถพุ่งเข้าชนกับนกอีมู ตัวของมันพุ่งเข้ามาขัดกับพวงมาลัยรถทำให้รถหมดสภาพไม่สามารถขับต่อไปได้

   

source : https://patr.io/QKGmx

สงครามครั้งนี้ยืดยาวไปถึง 40วัน หน่วยทหารสูญเสียปืนหนึ่งกระบอก และกระสุนอีกหมื่นนัด แต่สามารถกำจัดนกอีมูได้เพียงพันตัวเท่านั้น แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้สักที เรื่องนี้จึงกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในรัฐสภาออสเตรเลีย โดยวุฒิสมาชิค เจมส์ ดัน ได้ต่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกะลาโหม เซอร์ จอร์จ เพียร์ซ ว่าท่านบ้าไปแล้วเรอะ ที่ไปประกาศสงครามกับนกอีมู สัตว์ที่ไม่มีพิษภัยอะไรแบบนั้น ในครั้งนั้นสมาชิกในที่ประชุมสภาลงความเห็นตรงกันว่าควรยุติสงครามนี้ซะ สุดท้ายในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1932 เซอร์ จอร์จ เพียร์ซ ก็ได้ลงนามประกาศให้สงครามนี้สิ้นสุดลง เหล่าทหารก็จำต้องทำการถอนกำลังออกมาทั้งที่ภารกิจไม่สำเร็จ และมีการอพยพชาวไร่ชาวนาให้ออกมาจากพื้นที่นั้น ย้ายไปหาที่ทำกินแหล่งใหม่ เหล่านกอีมูก็กลับมาครองพื้นที่แห่งนี้ดังเดิมเหมือนก่อนที่มนุษย์จะรุกล้ำเข้าไป เรียกได้ว่าเป็นชัยชนะอย่างใสสะอาดของนกอีมูเลยก้ว่าได้

   

หลังจากจบสงครามสื่อ และสำนักข่าวต่างๆก็พากันทำข่าวเรื่องนี้ จนดังไปทั่วประเทศและดังไปจนทั่วโลก จากข่าวนี้ทำให้คนทั่วโลกต่างพากันตลกขบขัน และหยอกล้อประเทศออสเตรเลียว่าบ้าไปแล้วรึเปล่าทำสงครามกับนกอีมู เรื่องราวของสงครามนกอีมูครั้งนี้โด่งดังและเป็นที่จดจำแก่ชาวโลกจนมาถึงปัจจุบันว่าครั้งหนึ่งมนุษย์เราก็เคยประกาศสงครามกับสัตว์ มิหนำซ้ำยังได้รับความพ่ายแพ้กลับมาอีกต่างหาก