X

Battle of Austerlitz สงคราม 3 จักรพรรดิ

ในช่วง ค.ศ.1802 หลังจากนโปเลียนมีอำนาจกลายเป็นกงสุลของฝรั่งเศส และนำสันติมาสู่ฝรั่งเศส ในตอนนั้นยุโรปพึ่งผ่านพ้นสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส มาซึ่งแนวคิดเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ กระจายไปทั่วยุโรป เริ่มมีการตั้งรัฐหุ่นเชิดภายใต้รัฐบาลฝรั่งเศส ที่มีแนวคิดแบบนี้จำนวนมาก ทั้งนี้อังกฤษต้องการให้นโปเลียนถอนทหารและอิทธิพลของตัวเองจากหลายภูมิภาคในภาคพื้นทวีปเช่น ดัตซ์ และ สวิตเซอร์แลนด์ ในขณะเดียวกันนโปเลียนต้องการให้อังกฤษลดอำนาจทางทะเลของตนเองโดยการถอนทหารออกจากเกาะมอลต้าร์ และ อียิปต์ แต่ไม่มีใครยอมทำตามข้อตกลงกัน จนกระทั่งเกิดเป็นสงครามอีกครั้งในช่วง พฤษภาคม ค.ศ.1803 หลังสันติภาพได้เพียงปีเดียว ซึ่งสงครามครั้งนี้จะกินเวลานานเกือบ 2 ปี โดยมีชื่อว่า “สงครามนโปเลียน”  ทั้งนี้อังกฤษเพียงชาติเดียวไม่สามารถโค่นล้มฝรั่งเศสที่เป็นมหาอำนาจทางบกได้เลยจำต้องดึงชาติอื่นมาเป็นพันธมิตร

 

การ์ตูนล้อเลียน อังกฤษกับฝรั่งเศ กำลังแบ่งโลกกันเหมือนเค้ก

ที่มา – https://qph.fs.quoracdn.net/main-qimg-a26379a6e71a4a0437f3842eb455b484-lq

 

นโปเลียนตอบโต้โดยการตั้ง กองทัพที่บริเวณเมือง บูโลญ ใกล้กับช่องแคบอังกฤษ และระดมสรรพกำลังพลรวมถึงเรือจำนวนมากหมายจะยกพลขึ้นบกที่อังกฤษ ในช่วงระหว่างนี้ นโปเลียนได้ฝึกทหารอย่างช่ำชอง และพัฒนาระบบกองทัพใหม่ที่เรียกว่า “กองทัพน้อย” อันเป็น การแบ่งกองทัพขนาดใหญ่ี่เคื่อนที่ช้า เป็นกองทัพขนาดเล็ก หลายๆกองทัพที่เคลื่อนที่เร็วและสามารถทำการรบด้วยตนเองได้ กองทัพน้อยประกอบด้วย หน่วยรบ ทหารราบ , ม้า , ปืนใหญ่ รวมถึงหน่วยสนับสนุนการรบในตัวเองครบครัน แต่ละกองทัพน้อยยังสามารถเคลื่อนทัพได้หลายเส้นทาง ไม่เหมือนกองทัพใหญ่ที่เคลื่อนทัพไปทางเดียวกันตลอด และนี้คือกุญแจชัยชนะสำคัญของนโปเลียน

 

 

นโปเลียนเตรียมกองทัพใหญ่ที่บูโลญ

ที่มา- https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/f/f2/Inspecting_the_ Troops_at_Boulogne%2C_15_August_1804.png

 

ในขณะเดียวกัน อังกฤษพยายามโน้มน้าวชาติมหาอำนาจทางบกเช่น ออสเตรีย , รัสเซีย มาร่วมขบวนการต่อต้านนโปเลียน ทั้งนี้ออสเตรียภายใต้การนำของ จักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่ง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เกรงกลัวอิทธิพลของนโปเลียนที่มากขึ้นในเยอรมันและอิตาลีอยู่แล้ว ยิ่งการที่ในเวลาต่อมานโปเลียนสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส และ กษัตริย์อิตาลี ยิ่งทำให้ จักรพรรดิฟรานซ์เกรงกลัวนโปเลียนยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันรัสเซีย ภายใต้การนำของ ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ก็ังไม่รู้ึกเป็นศัตรูกับนโปเลียนและเสนอตัวเองเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายเสียด้วยซ้ำ แต่แล้วเมื่อนโปเลียนสั่งประหาร ดยุคแห่งอองเกียน (Duc d’Enghien) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์บูร์บองที่เคยปกครองฝรั่งเศส เนื่องจากสงสัยว่าดยุคมีเอี่ยวในแผนการลอบสังหารตน แต่มันก็เป็นการจุดประกายความโหดเหี้ยมของฝรั่งที่ปะหารเชื้อพระวงศ์เป็นว่าเล่นช่วงการปฏิวัติ ทำให้บรรดาเจ้าในยุโรปชาติอื่นมองนโปเลียนเป็นภัยอีกครั้ง!!!

 

 

ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

ที่มา-https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c3/Alexander_I_of_ Russia_by_G.Dawe_%281826%2C_Peterhof%29-crop.jpg

 

ไกเซอร์ฟรานซ์แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ที่มา – https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/10/Joseph_Kreutzinger_-_Kaiser_Franz_I.jpg/640px-Joseph_Kreutzinger_-_Kaiser_Franz_I.jpg

 

 

การประหารเชื้อพระวงศ์ฝรั่งเศส ดยุคแห่งอองเกียน

ที่มา – https://topwar.ru/uploads/posts/2021-01/1610804333_1.jpg

 

 

ซาร์อเล็กซานเดอร์ ในตอนแรกเสนอตัวเป็นตัวกลางก็มองว่านโปเลียนเป็นพวกป่าเถื่อนนอกศาสนา และการทำสงครามกับนโปเลียนก็เสมือนครูเสด ดังนั้น อังกฤษ รัสเซีย ออสเตรีย จับมือเป็นพันธมิตรในช่วง มิถุนายน ค.ศ.1805 เพื่อต่อต้านนโปเลีย ออสเตรีย และ รัสเซย เป็น มหาอำนาจทางบกรวมกำลังแล้วจะมีมากกว่านโปเลียน แต่ทั้งนี้ นโปเลียน เห็นว่ารัสเซียนั้นอยู่ไกล เคลื่อนทัพมาใช้เวลานานถ้าทุ่มกำลังเข้าโจมตี ออสเตรีย เสียก่อนแล้วทำลายกองทัพออสเตรียเสียรัสเซียก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร นอกจากนี้ แผนการยกพลขึ้นบกนั้นก็ดูท่าจะไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากอังกฤษยังครองทะเล นโปเลียนเลยกรีธาทัพกว่าราวๆ 220,000 นาย โยตั้งชื่อกองทัพนี้่า กองทัพอันยิ่งใหญ่ “Grande Armée” โดยแบ่งเป็น 7 กองทัพน้อย เคลื่อนทัพเข้าสู่เยอรมัน

 

ออสเตรียได้แบ่งกองทัพเป็น 2 ส่วนใหญ่ ส่วนแรกอยู่ในอิตาลี เพื่อตรึงกองทัพฝรั่งเศสที่อยู่ในอิตาลี และอีกส่วนที่ เยอรมัน แถบๆบาวาเรีย ซึ่งทางจอมพลแม็ค (Karl Mack von Leiberich) ผบ.กองทัพออสเตรียในเยอรมันมีกำลังพลราวๆ 80,000 นาย คิดว่าที่ที่ตนอยู่ปลอดภัย เนื่องจากได้รับข่าวสารผดพลาด คิดว่านโปเลียนยงอยู่ช่องแคบอังกฤษ ทั้งนี้ ในความจริง ช่วงกันยายน ถึง ตุลาคม ค.ศ.1805 กองทัพน้อยของนโปเลียนเคลื่อนทัพอย่างรวดเร็ว และกระจายวงล้อม กองทัพออสเตรียไว้หมด กว่า แม็ค จะรู้ตัวก็โดนล้อมไว้หมดแล้ว และยังสับสนมากอีกด้วยว่าฝรั่งเศสบุกมาทางไหน เลยตัดสินใจยอมจำนน ทหารออสเตรียกว่า 60,000 นายถูกสังหารไม่ก็ตกเป็นเชลยทั้งๆที่ฝ่ายนโปเลียนเสียกำลังพลไปแค่ราวๆ 3,000 – 4,000 เท่านั้น กองัพรัสเซีย ภายใต้การนำของจอมพลคูตูซอฟ (Kutuzov) เดินทัพใกล้ถึงเยอรมันเมื่อพบว่า แม็คแพ้แล้วก็รีบล่าถอยไป นโปเลียนรีบไล่ตามกองทัพของ รัสเซียไป ในระหว่างไล่ตามนั้นนโปเลียนแบ่งทหารคุ้มกันเส้นทางส่งกำลังบำรุงและแบ่งกองทัพไปบางส่วนไปกันไม่ให้ กองทัพออสเตรีย ในอิตาลี มาสมทบได้

 

กองทัพนโปเลียน (สีน้ำเงิน) เคลื่อนเข้าล้อมและตลบหลังกองทัพออสเตรีย (สีแดง) อย่างรวดเร็ว

ที่มา – https://pages.uoregon.edu/ulmausterlitzmap/images/twittercard.jpg

 

 

นโปเลียนไล่ตามกองทัพรัสเซียมาถึงบริเวณตำบล เอาสเทอร์ลิทซ์ (Austerlitz) ในแถบทางเหนือของออสเตรีย ซึ่งชัยภูมิเป็นเนินเขาสลับไปมาพร้อมับป่าสน ทั้งนี้กองทัพนโปเลียนเหลือกำลังพลราวๆ 68,000 นาย ในขณะที่ รัสเซียได้รับกองหนุนเพิ่มเติมจนมีกำลังราวๆ 89,000 นาย ซาร์อเล็กซานเดอร์แห่งรัสเซียเดินทางมาถึงกองทัพเช่นกัน รวมถึง ไกเซอร์ฟรานซ์เองก็อยู่ในกองทัพด้วย และต้องการรบกับนโปเลียนให้แตกหัก แต่ คูตูซอฟ ก็เตือนว่าให้ล่าถอยไปแถบ คาร์เพเธียน ก่อนแล้วค่อยรบ ดูเหมือนนโปเลียนก็คิดะรบเช่นกัน เขาเลยลวงว่าตัวองอ่อนแอ แสร้งถอยลงจากเนินพาสเซิน (Pratzen Height) อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ และยังส่งทูตไปขอเจรจาพักรบอีกด้วย ซาร์ เลยประเมินว่า นโปเลียนนี้คือสัญญาณความอ่อนแอของนโปเลียนและต้องการโจมตีนโปเลียน ในขณะเดียวนโปเลียนส่งความช่วยเหลือให้ กองทัพน้อยที่ 3 ของ จอมพลดาวูต์ จากเวียนนา เดินทางมาสมทบทันที ซึ่งดาวูต์ได้เดินทางมาถึงทันเวลาทีรบพอดี!!

 

 

การจัดวางกองทัพฝ่ายนโปเลียน (สีน้ำเงิน) และ ฝ่ายพันธมิตร (สีแดง)

ที่มา – https://pin.it/2xwHKlG

ฝ่ายพันธมิตรวางแผนโจมตีกองทัพฝรั่งเศสบริเวณปีกขวา โดยยกทัพใหญ่เกือบราวๆ 40,000 นาย ลงจากเนิน พาสเซิน เข้าโจมตีแถบหมูบ้านทิลนิตซ์ (Tellnitz) และปราสาท โซโคลนิตซ์ (Sokolnitz) ซึ่งมีกำลังฝรั่งเศสอยู่เบาบาง พอปีกขวาฝรั่งเศสแตก กองทัพที่เหลือจะโจมตีเข้าขนาบตรงกลางทัพนโปเลียนซ้ำ แผนนี้ดูเหมือนจะดีแต่มีข้อบกพร่องหลายประการ

  1. ฝ่ายพันธมิตรประเมินกำลังทหารนโปเลียนต่ำเกินไปนั้นคือราวๆ 30,000 – 40,000 นาย ทั้งๆที่ความจริงมีเกือบ 70,000 นาย และมีกองหนุนเดินทางมาเพิ่ม
  2. เนื่องจากออสเตรีย และ รัสเซีย พูดกันคนละภาษา แผนนี้ถูกคิดโดยเสนาธิการออสเตรีย ซึ่งต้องแปลเป็นภาษารัสเซียซึ่งเป็นกำลังพลส่วนใหญ่ในขณะนั้น กว่าแผนจะถูกจนนายทหารทุกคนรับรู้ก็คือเช้าตรู่วันที่รบ แน่นอนว่ามันยิ่งทำให้เกิดความสับสนในการรบ

ฝ่ายนโปเลียนนั้นคาดเช่นกันว่า ฝ่ายพันธมิตรจะเข้าตีปีกขวาของตน แต่ปีกขวาของนโปเลียนนั้นมี ลำธารขวางอู่ยาว 5 กิโลเมตรที่เป็นอุปสรรคการุกของฝ่ายพันธมิตร นโปเลียนเลยทิ้งทหารแค่ 1 กองพลไว้เฝ้าบริเวณนั้น ส่วนกำลังส่วนใหญ่จะซึ่งนโปเลียนเอาหลบหลังเนินเขา ซูราน (Zuran Hill) ก็จะเข้าโจมตี เนิน พาสเซิน ซึ่งทหารรัสเซียส่วนใหญ่ลงมาหมดแล้ว พอยึดเนินได้แนวรบรัสเซียจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน หลังจากนั้น กองทัพของดาวูต์ที่มาหนุนก็จะโจมตี ทหารฝ่ายพันธมิตรที่ยกทัพลงมาตีปีกขวาของนโปเลียน กลายเป็นว่าฝ่ายรัสเซียโดนขาบข้างเสียเอง เนื่องจากการยุทธนี้มี จักรพรรดิ 3 คนอยู่ในการยุทธเดียวกันนั้นคือ นโปเลียน , อเล็กซานเดอร์ และ ฟรานซ์ ทำให้การยุทธนี้มีอีกชื่อเรียกว่า การยุทธ 3 จักรพรรดิ

 

พอถึงวันรบจริงวันที่ 2 ธันวาคม ปรากฏว่าหมอกลงจัด ซึ่งช่วยให้ฝ่ายนโปเลียนสามารถใช้กำบังทหารของตัวเองเวลาเดินทัพได้ ฝ่ายพันธมิตรเคลื่อนทัพลงจากเนินเข้าตปีกขวาของนโปเลียนตามแผน นโปเลียนเลส่งทหารส่วนใหญ่เข้าบุกยึดเนินทันที ทั้งนี้ถึงฝ่ายพันธมิตรจะมีกำลังมากกว่าในจุดที่เข้าตีปีกขวาของฝรั่งเศส แต่ด้วยการประสานงานที่ล่าช้าทำให้การรุกฝ่ายพันธมิตรเป็นไปอย่างเอื่อยเฉื่อย ในขณะที่การบุกของฝรั่งเศสเป็นไปอย่างรวดเร็ว พอแสงแดดทอลงมา ทหารพันธมิตรที่อยู่บนเนิน เห็นทหารฝรั่งเศสจำนวนมากตรงมาที่ตน เกิดการปะทะระปราย แต่ไม่นานเนินก็ถูกยึด

 

การปะทะกันระหว่างทหารราบฝรั่งเศสและรัสเซีย

ที่มา – https://i0.wp.com/www.military-history.org/wp-content/uploads/2020/08/5.jpg?resize= 319%2C393&ssl=1

 

 

พระเจ้าซาร์เห็นท่าไม่ดเลย ส่งกองหนุนตัวเอง ทหารรักษาพระองค์รัสซียเข้าโจมตีเพื่อยึดเนินคืน แต่นโปเลียนก็ส่ง ทหารรักษาพระองค์ของตัวเอง เข้าปะทะกับทหารรัสเซีย ผลปรากฏว่าฝ่ายรัสเซียปราชัยและโดนดันกลับมา ตอนนี้ฝ่ายพันธมิตรกำลังแย่ ทหารที่กำลังเข้าตีปีกขวาก็เจอกองหนุนของดาวูต์มาสมทบ จะบุกก็ไม่ได้จะถอยกลับขึ้นเนินก็ไม่ได้ พวกเขาเลือกล่าถอยลงใต้ที่เป็นทะเลสาบที่กลายเป็นน้ำแ็ง ฝรั่งเศสระดมยิงปืนใหญ่ใส่ทะเลสาบที่เป็นน้ำแข็ง ส่งผลทำให้น้ำแข็งแตกทหารรัสเซียจมน้ำเป็นจำนวนมาก!! นโปเลียนได้รับชัยชนะเด็ดเหนือ 2 จักรพรรดิที่ เอาสเทอร์ลิทซ์ โดยฝ่ายฝรั่งเศสเสียชีวิตไป 1,300 นาย บาดเจ็บราวๆ 7,000 นาย ส่วนฝ่ายพันธมิตรเสียชีวิตไป 16,000 นาย ถูกจับเป็นเชลย 20,000 นาย ชัยชนะครั้งนี้เป็นผลทำให้รัสเซียต้องล่าถอยกลับไปเลียแผล ส่วนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ล่มสลายลงและถูกแทนที่ด้วยจักรวรรดิอสเตรีย แต่อำนาจของจักรพรรดิออสเตรียไม่ได้มีเหนือเยอรมันอีกต่อไป เพราะพวกเขาไปอยู่ใต้อำนาจของนโปเลียนแทน ชัยชนะครั้งนี้นับเป็นการประสบความสำเร็จทางทหารของนโปเลียนครั้งยิ่งใหญ่และทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของยุโรป

ทหารม้ารักษาพระองค์ฝรั่งเศสปะทะทหารม้ารักษาพระองค์รัสเซีย

ที่มา – https://i.pinimg.com/originals/c5/1b/98/c51b989f21504e6268191b02ca8b6c95.jpg

 

ปืนใหญ่ฝรั่งเศสระดมยิงใส่ทหารรัสเียที่ล่าถอยบริเวณทะเลสาบน้ำแข็ง ส่งผลทำให้ทะลสาบแตกและทหารจำนวนมากจมน้ำ

ที่มา- https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/14/Battle_of_Austerlitz_by_ Thomas_ Campbell.jpg