X

ยุทธการบ้านหาดเล็ก นย.ไทย ปะทะ เขมร

      หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินของไทยถือเป็นหน่วยที่มีประวัติศาสตร์และประวัติการรบมายาวนาน เหล่าทหารนย.นั้นผ่านสมรภูมิมาหลายครั้งและเชี่ยวชาญในการทำศึกมากจนมี คำกล่าวว่า “เมื่อ นย. เหยียบฝั่งพลัน เหตุคับขันจักคลี่คลาย” ซึ่งมีการรบในครั้งหนึ่งที่เหล่า นย. ได้ทำการรบอย่างกล้าหาญเพื่อผลักดันอริราชศัตรูออกจากผืนแผ่นดินไทย นั้นคือ การยุทธที่บ้านหาดเล็ก ณ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย

บริเวณวงกลมด้านใต้สุดคือ บ้านหาดเล็ก ซึ่งมีการปะทะกันหลายครั้ง

Source : https://patr.io/ccLTm

      ถึงเหตุการณ์นี้จะไม่ค่อยดังมาก แต่ก็ถือเป็นอีกครั้งที่มีศัตรูจากภายนอกรุกล้ำเขตแดนเข้ามาอัน หมู่บ้านหาดเล็กนั้นตั้งอยู่ปลายสุดของจังหวัดตราด ทั้งนี้หากดูในแผนที่ประเทศไทยจังหวัดตราดจะมีแผ่นดินเป็นแหลมยื่นไปทางตะวันออกเฉียงใต้จรดกับกัมพูชาซึ่งบริเวณดังกล่าวในสมัยก่อนก็มักจะมีการยิงปะทะประปรายอยู่เป็นประจำ ซึ่งเหตุการณ์ปะทะใหญ่ก็ได้เกิดขึ้นใน พ.ศ.2509 ซึ่งในห้วงนั้นการเมืองภายในกัมพูชามีความปั่นป่วนพอสมควร ชาวบ้านในแถบละแวกชายแดนต้องอพยพหนีการยิงปะทะทางรัฐบาลไทยได้ส่ง กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมนาวิกโยธิน ประกอบด้วย หมู่ลาดตระเวนจัดจาก กองร้อยลาดตระเวน กรมผสมนาวิกโยธิน และปืนใหญ่เบาวิถีโค้ง 75  มม.และเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 4.2 นิ้ว จาก กองพันทหารปืนใหญ่ ไปที่บ้านหาดเล็กเพื่อป้องกันชายแดน

Source :  https://patr.io/ueRYg

      ซึ่งการเดินทางก็ยากลำบากแล้วเพราะต้องนั่งเรือไปยกพลขึ้นบกใช้เวลาราวๆ 56 ชั่วโมง และเดินเท้าอีก 4 ชั่วโมงถึงจุดปะทะ การปะทะได้เริ่มวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2509 ฝ่ายไทยเสียเปรียบเพราะมีจำนวนน้อยกว่าและฝ่ายกัมพูชาเน้นการบุกโจมตีในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ฝ่ายไทยเลยเปลี่ยนยุทธวิธีบ้างเลยจัดกำลัง 2 ชุด ชุดหนึ่งนอนพักกลางวัน ให้หน่วยลาดตระเวนรักษาเฝ้าทางไว้เวลากลางวัน และเพราะตอนกลางคืนทหารส่วนใหญ่ก็พร้อมตั้งรับและเมื่ออพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ได้หมดฝ่ายไทยเลยสามารถใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มกัมพูชาได้อย่างเต็มอัตรา ทำให้ฝ่ายเขมรล่าถอยไปในที่สุด และไม่นานเขมรก็มีการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นของนายพล ลอนนอล และได้เจรจากับฝ่ายไทยจนเกิดสันติอีกครั้ง นาวิกโยธินจึงถอนตัว

Source : https://patr.io/WLCXv

      บทเรียนที่ได้จากการยุทธที่บ้านหาดเล็ก นั้นคือความลำบากของชัยภูมิซึ่งฝ่ายเขมรยึดครองที่สูงข่ม รวมถึงการโจมตีในเวลากลางคืนซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการฝึกให้ทหาร นย. ยิงปืนในเวลากลางคืน รวมถึงการสื่อสารและเสบียงที่ค่อนข้างเป็นปัญหาเพราะขนส่งได้แค่ทางเรือ ในเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนรัฐบาลเขมรเป็น พล พต ในช่วง พ.ศ.2518 ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ฝ่ายเขมรแดงก็ได้ทำการยิงประปรายมาทางชายแดนไทยบ่อย ซึ่งก็ได้มีการส่ง หน่วยกองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมนาวิกโยธิน เช่นเดิมไป เพิ่มเติมคือ กองร้อยปืนเล็กอีก 1 กองร้อย ซึ่งได้มีการส่งชุดลาดตระเวนบริเวณชายแดนตลอดเวลา จนกระทั่งเกิดเหตุในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2518 

 

      เมื่อชุดลาดตระเวน 15 นายได้ลาดตระเวนบริเวณเชิงเขาบรรทัด และได้ยิงปะทะกับฝ่ายตรงข้ามในเวลา 09.00 น. ตลอดการยิงปะทะ 35 นาที ชุดลาดตระเวนไม่สามารถติดต่อกับ บก.ได้ ดังนั้นจึงไม่มีการยิงสนับสนุนจากอาวุธหนักเนื่องจากไม่ทราบตำแหน่งชุดลาดตระเวนแน่ชัด ทาง ผบ. จึงได้ทำการกะบริเวณเอาแล้วยิงคุ้มกันด้วยปืนครกขนาด 4.2 นิ้วสนับสนุนชุดลาดตระเวนให้ถอยออกมา ซึ่งผลคือชุดลาดตระเวนเสียชีวิตไป 5 นาย ซึ่งกองกำลังที่เหลือพยายามฝ่าเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บและนำศพผู้เสียชีวิตลงมาจาก เขาบรรทัดได้ในที่สุด รายชื่อผู้เสียชีวิตมีดังนี้ 

1.จ.อ.สวรรค์ ดวงจันทร์ ผบ.หมู่ ลว.

2.จ.ท.บุญช่วย เทียบเทียม รอง ผบ.หมู่ ลว.

3.พลฯ ห่อ พุกลา

4.พลฯ บุญส่ง แซ่ไหล

5.พลฯ กุหลาบ สุวรรณ

 

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายไทยเสียชีวิตมากขนาดนี้เพราะไม่ทราบการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามแน่ชัด และขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีกับทาง บก. ทำให้การสนับสนุนล่าช้า ท้ายสุดแล้วปัจจุบัน หมู่บ้านหาดน้อยก็ยังคงอยู่ในอธิปไตยของไทย ซึ่งทหาร นย. ได้ปกป้องพื้นที่นี้ไว้ด้วยชีวิตของพวกเขา

อนุสาวรีย์รำลึกถึงวีรชนแห่งบ้านหาดเล็ก

Source :  https://patr.io/wlOPh