จอมพลเออร์วิน รอมเมล 1 ในผู้บูัญชาการเลื่องชื่อของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเขา เขาคือวีรบุรุษสงครามของเยอรมัน เขาได้รับความเคารพจากฝ่ายเดียวกันและฝ่ายตรงข้ามในฐานะนายทหารผู้มีความสามารถและมีคุณธรรม เขาได้เป็น ผบ.กองทัพน้อยแอฟริกาหรือที่เรียกกันว่า “Deutsches Afrikakorps” มาวันนี้ เราจะมาเจาะลึก กลยทธุ์ของ “จิ้งจอกทะเลทราย” ผู้นี้ว่าอะไรทำให้เขาประสบความสำเร็จ
จอมพล เออร์วิน รอมเมล
source : https://patr.io/KbGvk
กล่าวเริ่นนำก่อนว่าสมรภูมิที่รอมเมลได้ทำการรบกับอังกฤษนั้นคือ ทะเลทรายซาฮาร่า อันกว้างขวางที่แอฟริกาเหนือ ไม่มีที่หลบที่กำบัง ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถมองเห็นกันได้แต่ระยะไกลดังนั้นการรบในพื้นที่เหมาะกับการใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วเป็นที่สุดอาจจะเรียกได้ว่านี้ คือ สวรรค์ของการรบด้วยยานเกราะ เลยก็ว่าได้ แต่ด้วยความเป็นทะเลทรายเวิ้งว้างนี้ทำให้การส่งกำลังบำรุงเป็นาก เพราะไม่มีจุดแวะพักเติมน้ำมัน หรือไม่สามารถใช้แรงงานสัตว์ เช่นม้าได้ต้องใช้ยานยนต์ล้วนๆ น้ำมันจึงเป็นอะไรที่สาคัญมาก เรียกได้ว่าใครสายป่านยาวกว่าก็ได้เปรียบ ในขณะเดียวกันฝ่ายเยอรมันเองมีประสบการณ์ในการทำสงครามยานเกราะมาก่อนตั้งแต่ช่วงต้นสงครามทำให้นายทหารเยอรมันส่วนใหญ่เชี่ยวชาญในการรบด้วยยานเกราะอยู่แล้วเมื่อมาอยใน ผบ.ที่มีความเี่ยชญยารมม ทำให้พวกเขาแสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่
หลักการรบด้วยยานเกราะของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีดังนี้
1. การโจมตีด้วยยานเกราะจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเหล่าทัพอื่นอย่างใกล้ชิด
2. กำลังยานเกราะต้องเคลื่อนไปพร้อมกันห้ามมีรถถังคันใดคันหนึ่งวิ่งเลยอีกคันไปไกลเกินระยะสายตา
3. ถ้ายานพาหนะพังต้องรีบซ่อมมันโดยเร็วที่สุด ังนั้นหลาชางึงำคญมก รถถังเรามีน้อยกว่าฝั่งพันธมิตร มันจึงคุ้มค่าหากเราต้องสู้ถ่วงเวลาทั้งวันเพื่อให้รถถังของเราซ่อมเสร็จ
4. การซ่อมยานพาหนะในเวลากลางคืนเป็นเรื่องยากถ้าไม่ใช้ไฟฉาย แต่มันก็จะเป็นการบอกตำแหน่งเราให้ข้าศึกรับรู้อยู่ดี อย่างน้อยมันทำให้เรามีรถถังที่วิ่งได้ในตอนเช้า ซึ่งเป็นเวลาที่ข้าศึกพร้อมโจมตี
5. การติดต่อกันระหว่างหน่วยเป็นเรื่องสคัญย่ายิ่ดังั้นึงตองมวิยซึ่งมีประสิทธิภาพ
6. อำนาจการยิงเป็นเรื่องสำคัญมาก คุณต้องเข้าเคลียร์พื้นที่ของข้าศึก (ระวังปืนต่อต้านรถถังให้ดีๆ)ด้วยกระสุนปืนใหญ่หัวระเบิด ซึ่งทำหน้าที่นี้เหมาะกับปืนจากรถถังแพนเซอร์ 4 (PzKpfw IV) ขนาด 75 มิลลิเมตร ในระยะ 2,000 เมตร และปืนใหญ่สนามในระยะที่ไกลกว่านิดหน่อย หลังจากนั้นพิจารณาเอาเองว่าแนวรบข้าศึกอ่อนแอลงหรือไ่
รถถังรุ่น แพนเซอร์ 4 อันเป็นม้างานหลักของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
source : https://patr.io/cXNED
7.ควรมีการลาดตระเวณตลอดเวลา เพื่อใหเราทราบแน่ชัดถึงข้อมูลข้าศึกที่ตั้จุดยุทธศาสตร์ จดอ่อและจดแข็ข้าศก และพื่อะไดรัรู้ว่าควรเข้าตีบริเวณไหน การโจมตีของเราอาจจะกลายเป็นทุ่งสังหารได้หากลาดตระเวณไม่ดีพอดังนั้น ผบ.ควรเดินทางไปสนามรบเพื่อตัดสินใจด้วยตนเอง ปกติฝ่ายเรามักใช้ ยานยนต์เคลื่อนที่เร็ว เช่น มอเตอร์ไซต์ ในการลาดตระเวณ ส่วนอังกฤษกับออสเตรเลียยังคงใช้ทหารราบ
นี้คือหลักการของเยอรมันที่ใช้ในช่วงสงครามโลกแต่สำหรับรอมเมลนั้นเขาได้มีการดัดแปลงเพิ่มเติมอะไรหลายอย่างให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น การใช้ปืนต่อต้านรถถังขนาด 88 มิลลิเมตร ซึ่งความแม่นยำสูงในการรุก รอมเมลใช้รถถังของเขาจูงปืนใหญ่ 88 มิลลิเมตร ไปด้วย และสามารถตั้งพร้อมยิงได้ในเวลาอันสั้น พวกอังกฤษเลยต้องเจออำนาจการยิงจากรถถังเยอรมันและปืนใหญ่ขนาด 88 มิลลิเมตรพร้อมๆกัน ไม่มีรถถังอังกฤษคันไหนสามารถกันกระสุน 88 มิลลิเมตร ได้!! หรือกลยุทธการโจมตีเมื่อแสงแดดสาดใส่ตาข้าศึกซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการยิงของพวกเขาต่ำลง
ปืนใหญ่ขนาด 88 มิลลิเมตร แต่เดิมออกแบบมาให้เป็นปืนต่อต้านอากาศยานแต่สามารถนำมายิงรถถังได้ผลดีเช่นกัน
source :https://patr.io/RGY6u
ปืนใหญ่ขนาด 88 มิลลิเมตร
source : https://patr.io/yYRg1
นอกจากนี้รอมเมลยังรวมรถถังขนาดเบา (Light Tank) ไว้ด้วยกันทำให้มีความเร็วในการปฏิบัติการณ์มากกว่า รถถังอังกฤษ รอมเมลยังสั่งให้มีการสร้างรถถังปลอมจากไม้พื่อลวงข้าศึกว่ตนมีถถังเอะกว่ แต่ที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นตัวรอมเมลเองที่ลงสนามรบอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาบัญชาการรบ ซึ่งนอกจากจะทำให้เขาเห็นภาพรวมสถานการณ์รบเพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง มันยังเป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย จึงไม่แปลกที่จะทำให้เขากลายเป็นที่รักของทหารใต้บังคับบัญชา อย่างไรก็ตามด้วยการส่งกำลังบำรุงขอฝ่ายพันธมิตรที่เหนือกว่า รวถึงฮิตลอร์ไดกรีธาัพบุกัสเซีทำใหแนวบแอฟริกากลายเป็นแนวรบรองลงไป กองทัพน้อยแอฟริกา เลยเริ่มเพลี่ยงพล้ำ ซ้ำร้ายกองทัพอเมริกายกพลขึ้นบกทางตะวันตกของแอฟริกา ทำให้กองทัพเยอรมันในแอฟริกายอมจำนน ปิดฉากรบในทะเลทราย
อ้างอิงหลัก
– World War II Deasert by Paddy Griffith