ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดไม่นาน สหภาพโซเวียตได้รุกรานฟินแลนด์ในช่วงต้น ค.ศ.1940 และพบว่าปืนกลมือของพวกมิอาจต่อกรกับปืนกลมือรุ่น Suomi KP/-31 ที่มีความแม่นยำและอำนาจการยิงที่รุนแรงกว่าได้ ถึงแม้ โซเวียตจะได้รับชัสงครามครั้งนี้แต่พวกเขาก็ต้องสูญเสียหนัก สหภาพโซเวียตต้องการคิดค้นปืนกลมือชนิดใหม่ให้แก่กองทัพซึ่งเหมาะสำหรับการยิงปะทะกันในระยะประชิด ปืนกลมือนี้ต้องสร้างความได้เปรียบในแง่อำนาจการยิงเหนือข้าศึก ซึ่งในตอนแรกก็มีการออกแบบปืนกลต้นแบบรุ่น PPD-34/40 จนนักประดิษฐ์ชื่อ จอร์จี้ สปาแกน (Georgy Shpagin) ได้นำตัวต้นแบบไปพัฒนาปรับปรุงใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่า มันก็ยิงได้แม่นยำมากขึ้น ได้มีการทดสอบการยิงไป 30,000 กว่านัดและก็พบว่าปืนยังคงสภาพดี มีคุณสมบัติมากพอที่จะคงทนในสนามรบได้ และกองทัพแดงของโซเวียตก็ได้อนุมัติให้เดินสายผลิตปืนกลมือรุ่นนี้ในช่วงธันวาคม ค.ศ.1940 โดยมันมีชื่อว่า PPSh-41
Suomi KP/-31 ปืนกลมือของฟินแลนด์ต้นแบขง PPSh-41
ที่มา – https://f.ptcdn.info/169/056/000/p452ws35raVtCiJ6RC6-o.jpg
มันเริ่มเดินสายการผลิตในช่วง ค.ศ.1941 ก่อนการรุกรานของเยอรมันไม่นานนัก PPSh-41 ใช้กระสุนขนาด 7.62*25mm มีความยาวตั้งแต่ปากลำกล้องถึงพานท้าย 85 เซนติเมตร หนักราวๆ 3.74 กิโลกรัม ความเร็วของกระสุนนั้นมากถึง 500 เมตรต่อวินาที ซึ่งมากกว่าปืนกลมือของเยอรมันและอเมริกาในเวลานั้นเสียอีก ระยะยิงหวังผลของันือ 270 หลา และหากเลย 330 หลาไปความแม่นยำก็จะต่ำ แต่ปืนกลมือ นั้นได้ถูกออกแบบมาให้ยิงแม่นยำอยู่แล้ว PPSh-41 ถูกออกแบบให้สาดกระสุนจำนวนมากในเวลาอันสั้น จุดเด่นของมันที่สุดคือ ซองบรรจุกระสุนของมันที่เป็นรูปทรงกลมและบรรจุกระสุนจำนวนมากถึง 71 นัด!! ทำให้เมื่อทหารทำการรบติดพันพวกเขาไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนซองกระสุนใหม่
ทหารโซเวียตกับ PPSh-41
ที่มา – https://64.media.tumblr.com/90dda81b1a79a3c40aeacfe1ea86b5a0 /tumblr_ocaardcnSs1s57vgxo1_1280.jpg
และข้อดีของมันอีกอย่างคือมันสามารถผลิตง่ายมากโดยไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีซับซ้อน มันใช้วัสดุง่ายๆที่โรงงานทั่วไปก็สามารถทำได้ หรือแม้แต่ร้านซ่อมรถเองก็ามาถผลตัได้จึงไม่แปลกที่จะมีปืน PPSh-41 ออกมาเป็นจำนวนมาก เพียง ค.ศ.1941 ปืนชนิดนี้ก็ถูกผลิตออกมา 90,000 กระบอกและตลอดห้วงสงครามมันถูกผลิตออกมามากถึง 6 ล้านกระบอก ด้วยจำนวนมากขนาดนี้บางครั้งทำให้ทั้ง หมวดทหารราบ หรือ กองร้อยของทหารราบ ใช้ปืน PPSh-41 กันทุกนาย ในขณะที่อาวุธของเยอรมันส่วนใหญ่ยังเป็นปืนระบบลูกเลื่อน ทำให้ทหารราบรัสเซียมีอำนาจการยิงสูงกว่ามากในารต่อสู้ระยะใกล้ แ่ขอเสียของมันก็มีเช่นกัน นั้นคืออัตราการยิงที่รวดเร็วของมันทำให้ปากลำกล้องร้อนเร็วมาก และมันก็กินกระสุนมากๆด้วย ตัวกินกระสุน แต่ก็มีอีกฉายาว่า “พ่อ” หรือ ปาปาช่า ในภาษารัสเซีย ซึ่งก็มาจากชื่อของมันนั้นเอง
มันเริ่มถูกแจกจ่ายให้ทหารโซเวียตเป็นจำนวนมากในช่วง ค.ศ.1942 ซึ่งในการยุทธที่ ตาลินกราด (Stalingrad) ส่วนใหญ่การรบจะเป็นแบบตึกต่อตึกบ้านต่อบ้าน ทหารรัสเซียพร้มปืนกล PPSh-41 ก็ได้พิสูจน์มันเหมาะกับการสู้ระยะประชิดในสมรภูมิปิดแบบห้องต่อห้องได้ดีกว่าปืนไรเฟิลยาวของเยอรมัน และถึงแม้จะรบในที่โล่งหรือสมรภูมิเปิดกองทัพโซเวียตก็มักใช้ยุทธวิธีคลื่นมนุษย์ (Human Waves) ใช้ทหารราบวิ่งโถมเข้าใส่แนวตั้งรับข้าศึกพร้อมกันจำนวนมากๆแน่นอนว่าคนเสียชีวิตนั้นกต้องมีจำนวมากแ่ถ้านไหนรอชีวิตและหลุดไปถึงแนวตั้งรับข้าศึกได้พวกเขาก็พรอมสาดกระสุนใส่ทหารเยอรมันที่อยู่ในที่กำบัง
PPSh-41 เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการรบแบบตึกต่อตึกเช่นที่เมืองสตาลินกราด
ที่มา – http://www.warhistoryonline.com/wp-content/uploads/sites/64/2016/09/ruphoto15-640×380.jpg
การรุกแบบคลื่นมนุษย์ของโซเวียต
ที่มา – https://humanwaveconscripts.files.wordpress.com/2022/07/winter-offensive-px800.webp
ทางเยอรมันเองก็ถูกใจปืนกลมือชนิดนี้ของโซเวียตมากหลายนายก็เก็บมาใช้เอง และมีมากกว่า 10,000 กระบอกที่ถูกดัดแปลงให้ใช้กับกระสุนขนาด 7.92 มิลลิเมตรของเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จลง มันก็ถูกใช้ในอีกหลายประเทศและหลายสงครามทั้ง สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และแม้แต่ในยุคสมัยนี้เองก็ตามในสงครามรัสเซีย – ยูเครน ค.ศ. 2022 ก็ยังมีการพบเห็น PPSh-41 ถูกใช้ เรียกได้ว่ายังคงเป็นปืนที่อยู่มานานมากทีเดียวและไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะได้เห็นมันอีก
ทหารของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์ กำลังถือปืนกลมือ PPSh-41
ที่มา – https://static.euromaidanpress.com/wp-content/uploads/2022/05/ork-dnr-v-mariupoli-z-ppsh-e1652866100140.jpeg