“MXY-7 ohka”จรวดนำวิถีของญี่ปุ่น ที่ไม่ได้มีAIแต่ใช้นักบิน!?
source:Yokosuka MXY7 Ohka model 11 – AviationMegastore.com
ในปัจจุบันเราคงจะได้เห็นจรวดนำวิถีหลากหลายรูปแบบที่มีเทคโนโลยีสามารถติดตามเป้าหมายและบินไปชนได้ด้วยตัวของมันเอง แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 เจ้า MXY-7หรือที่รู้จักในนามโอก้าเป็นจรวดนำวิถีที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้นโอก้าไม่ได้มีเทคโนโลยีที่ช่วยในการนำวิถีแต่อย่างใดแต่ใช้นักบินในการบังคับจรวดไปชนกับเป้าหมายและเสียชีวิตไปพร้อมกับจรวดนั้นเลยตามแนวความคิดสละชีพเพื่อชาติอย่างแท้จริง MXY-7 จะมีพลังทำลายล้างแค่ไหนและมันจะสร้างความเสียหายให้ศัตรูได้มากเพียงใด วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟัง…
source: MODELIMEX Online Shop | 1/72 Yokosuka MXY-7 Ohka model 22 (plastic kit) | your favourite model shop
source: 「japan planes WW 2 – photos」おしゃれまとめの人気アイデア|Pinterest|Hal Cohen | 戦闘機, 海軍, 大 東亜 戦争
ปลายสงครามโลกครั้งที่2 ญี่ปุ่นถูกโจมตีอย่างหนักหน่วงจนไม่เห็นหนทางที่จะชนะแต่ญี่ปุ่นก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยอมแพ้แต่อย่างใดในเมื่อเล็งเห็นแล้วว่าตนเองกำลังจะพ้ายแพ้ญี่ปุ่นจึงได้งัดไม้เด็ดออกมาเพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศอย่างถึงที่สุดนั่นก็คือ การพลีชีพนั่นเองกองทัพเรือญี่ปุ่นและคณะการบินแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวร่วมมือกันออกแบบจรวดทำลายขึ้นมาและให้ชื่อว่า MXY-7 หรือมีชื่อเล่นว่า โอก้า โดยหวังจะทำลายเรือรบของสหรัฐอเมริกาแต่ในสมัยนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีในการนำวิถีเหมือนในปัจจุบันญี่ปุ่นจึงสร้างจรวดออกมาในรูปแบบอากาศยานที่มีคนขับ เพื่อบังคับจรวดให้พุ่งไปชนเรือรบของสหรัฐโดยกองทัพญี่ปุ่นมองว่าเป็นการคุ้มค่าที่จะเสียสละชีวิตนักบินหนึ่งนายแลกกับเรือรบของสหรัฐและชีวิตทหารอเมริกันอีกนับร้อย
source:Pin on Aviation’s Most Iconic Aircraft (pinterest.com)
source:Captured Japanese airplanes. | Page 18 | WW2Aircraft.net Forums | Yokosuka, Wwii aircraft, Okinawa (pinterest.com)
โอก้าถูกออกแบบมาให้ประหยัดงบประมาณที่สุด เพื่อที่จะผลิตออกมาได้เยอะๆโดยลำตัวของมันสร้างด้วยอลูมิเนียม และปีกที่ทำจากไม้ ส่วนของนักบินจะตั้งอยู่ด้านท้ายของตัวจรวดเครื่องยนต์ของโอก้าเป็นเครื่องไอพ่นจรวดที่ใส่ไปถึง3ตัว ด้วยน้ำหนักที่เบา และเครื่องยนต์ที่แรงขนาดนี้ทำให้โอก้าสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 800กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว!จึงเป็นการยากที่เรือรบสหรัฐจะยิงสกัดได้ และส่วนที่พีคที่สุดของโอก้าก็คือส่วนระเบิดนั่นเองส่วนนี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าของตัวจรวด บรรจุระเบิดขนาด 2600ปอนด์ หรือประมาณ 1.2ตันซึ่งหนักกว่าขนาดระเบิดที่เครื่องบินทิ้งระเบิดซีโร่สามารถขนได้ถึง 5เท่า
เรียกได้ว่าประหยัดทรัพยากรกว่า และยังมีพลังทำลายล้างมากกว่าอีกด้วย
source:Pin en GUERRA EN EL PACIFICO WW2 (pinterest.es)
โอกะไม่สามารถเทคออฟขึ้นจากพื้นได้ด้วยตนเอง จึงต้องขนไปด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่Mitsubishi G4M และเมื่อบินเข้าไปได้ระยะที่เหมาะสมก็จะทำการปล่อยตัวเจ้าโอก้าออกมาหลังจากที่โอก้าถูกปล่อยได้หนึ่งนาทีนักบินก็จะเปิดระบบเครื่องยนต์เพื่อเร่งความเร็วเจ้าโอก้าให้ถึงขีดสุดและทำการบินเลียดผิวน้ำในระดับไม่เกิน5ฟุตเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจการจากเรดาร์ของเรือภายในเวลาไม่กี่วินาที จรวดทำลายล้างขนาด 2600ปอนด์พุ่งเข้าชนเรือรบสหรัฐฯอย่างรวดเร็วและรุนแรง ด้วยความเร็ว800กิโลเมตร/ชั่วโมงแรงอัดและแรงระเบิดขนาดนั้นทำให้เรือรบสหรัฐฯแตกและขาดเป็นสองท่อนจมลงสู่ก้นมหาสมุทรทันที
ความสุดโต่งของโอ้ก้าสร้างความกลัวและทำลายขวัญทหารอเมริกันอย่างมากในช่วงแรกจนให้ฉายามันว่าบาก้าซึ่งแปลว่าบ้าบิ่นในภาษาญี่ปุ่น
source:Pin on Warplanes (pinterest.com)
แต่โอก้าก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะหลังจากสหรัฐฯตกตะลึงกับความแปลกใหม่ของอาวุธชนิดนี้ได้
ไม่นาน ก็เริ่มมีการปรับแผน วางกลยุทธ์ใหม่โดยสหรัฐได้สังเกตเห็นแล้วว่าเจ้าโอก้าไม่สามารถขึ้นบินเองได้จะต้องขนมากับเครื่องบินG4M
และระยะการทำงานของโอก้ามีเพียง40กิโลเมตรเท่านั้นหากไกลกว่านั้นเจ้าโอก้าก็จะบินไม่ถึงเป้าหมายและร่วงลงน้ำไป หมายความว่า G4M
จะต้องบินเข้ามาในระยะ 40กิโลเมตรก่อนที่จะปล่อยโอก้าออกมาแต่เรดาของเรือรบสามารถตรวจจับตำแหน่งของG4Mได้ตั้งแต่ระยะ 190กิโลเมตรแล้ว
สหรัฐฯจึงเรียกเครื่องบินไฟท์เตอร์มาทำลายG4Mได้ทันท่วงทีก่อนที่มันจะสามารถปล่อยเจ้าโอก้าออกมาเสียอีกหรือหากมีโอก้าลำไหนเล็ดลอดมาได้ก็จะถูกปืนใหญ่เรือที่สหรัฐเพิ่มเติมระบบช่วยยิงด้วยเรดาร์เข้ามาอีกทำให้โอก้าเปรียบเสมือนขนมให้สหรัฐฯยิงเล่นเลยก็ว่าได้
source:Yokosuka Ohka – kamikaze, japanese navy, japanese air force, world war two | Yokosuka, Wwii aircraft, Kamikaze (pinterest.com)
MXY-7กลายเป็นโครงการที่ล้มเหลวจนกองทัพญี่ปุ่นต้องพับโครงการนี้เก็บไปก่อนเลยทีเดียวแต่อย่างไรก็ตามเจ้าโอก้าก็ถือว่าเป็นหนึ่งในยุทโธปกรณ์ที่แปลก และน่าจดจำชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์สงครามเลยล่ะครับ