อาวุธนั้นย่อมต้องมีการพัฒนาไปตามยุคสมัย เพื่อไม่ให้มันตกยุคบางอาวุธถึงสูญพันธุ์หรือถูกเลิกใช้งานเมื่อมันถูกแทนที่ด้วยของใหม่แต่ก็มีบางอาวุธที่อาจจะเรียกได้ว่าใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจจะมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และหนึ่งในนั้นคือ M101 howitzer ปืนใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็น ปืนครู ในวงการทหารปืนใหญ่ไทย และก็ยังมีประจำการอยู่ในกองทัพบกและหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินไทยอีกด้วย
โดย M101 Howitzer นั้นถูกพัฒนาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้เดินสายการผลิตใน ช่วง ค.ศ.1940 อันเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุพอดี โดย M101 รุ่นแรกนั้นจะเป็น M101A2 ซึ่งมีขนาดปากลำกล้อง 105 มิลลิเมตร ความยาวปากลำกล้อง 22 คาลิเบอร์ ปรับมุมเงยได้สูงสุด 65 องศา และมุมกด 5 องศา ระยะยิงไกลสุด 11.5 กิโลเมตร น้ำหนัก 2.5 ตัน และต้องใช้รถบรรทุก 6 ล้อในการเคลื่อนย้ายมัน มันใช้พลประจำปืนทั้งสิ้น 8 นาย อัตราการยิงเฉลี่ยของมันอยู่ที่ 3 – 4 นัดต่อนาที โดยมันถือเป็นอาวุธปืนใหญ่ที่ยิงได้แม่นยำและทรงพลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มันถูกใช้ในระดับกองพัน มันมีน้ำหนักไม่หนักเกินไปทำให้คล่องตัวเหมาะต่อการสนับสนุนทหารราบ และระยะยิงปานกลาง
M101 Howitzer ในสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่มา -https://archive.org/download/WW2M101105mmHowitzer_201805/WW2 _M101_105mm_Howitzer.jpg
M101 ถูกใช้โดยทั้งกองทัพบกสหรัฐอเมริกาและนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา มันได้แสดงแสนยานุภาพในยุโรปและเอเชีย รวมถึงแอฟริกาเหนือ พอจบสงครามโลกก็มีการผลิตมันออกมามากกว่า 10,000 กระบอก ด้วยความทนทานต่อการใช้งาน มันได้ถูกใช้งานในช่วงสงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ซึ่งมีการดัดแปลงอีกหลายรุ่นเช่น
M101A1 ซึ่งถูกดัดแปลงโล่ปืนในช่วง ค.ศ.1964
M102 พัฒนาในช่วงสงครามเวียดนามให้น้ำหนักเบาจนสามารถขนส่งทางเฮลิคอปเตอร์ได้
M7 Priest การนำปืนใหญ่ 105 มิลลิเมตรไปติดตั้งบนรถถังกลาง M3 Lee
C2 เป็น M101 เวอร์ชั่นแคนาดาที่เปลี่ยนลำกล้องเป็น 33 คาลิเบอร์เพื่อต่อระยะยิง ซึ่งอาจจะยิงได้ถึง 20 กิโลเมตร
M7 Priest รถปืนใหญ่อัตตาจร ในสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่มา – https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/25/M7_Priest_at_APG.jpg
ไม่ใช่แค่เพียงสหรัฐอเมริกาที่มีมันประจำการ แต่ประเทศพันธมิตรและประเทศอื่นๆต่างซื้อมันไปใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งที่ทำให้ปืนใหญ่ M101 ประสบความสำเร็จคือทำให้กระสุนปืนใหญ่นาโต้ขนาด 105 มิลลิเมตร ตามมาตรฐานนาโต้แพร่กระจายไปทั่วโลก ตั้งแต่ เม็กซิโก , ไต้หวัน ไปจนถึง เอธิโอเปีย กระสุนขนาด 105 มิลลิเมตร ทำให้ปืนใหญ่ทันสมัยในยุคถัดมาออกแบบปืนให้มีขนาด 105 มิลลิเมตรเพื่อรองรับกระสุนนี้ได้ พันธมิตรที่ใช้ปืนใหญ่ ชนิดนี้ต่างชื่นชมในประสิทธิภาพของมัน มันใช้งานง่ายและทนทาน เช่นเกาหลีใต้ที่ใช้มันเป็นพื้นฐานในการสร้างปืนใหญ่ KH178 ของตน สำหรับปืนใหญ่ 105 มิลลิเมตร M101 รุ่นเก่าพวกเขาก็ดัดแปลงมันติดตั้งมันบนรถบรรทุกจนเป็นปืนใหญ่อัตตาจร EVO-105
EVO-105 ปืนใหญ่อัตตาจรของเกาหลีใต้
ที่มา -https://www.armyrecognition.com/images/stories/news/2017/june/South_ Korea_s_upgraded_EVO_105_105mm_self_propelled_howitzer_ready_for_mass_productio_640_001.jpg
และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากเช่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ไทย ซึ่งกองทัพบกไทยได้รับมันประจำการในช่วง ค.ศ.1952 และเป็นปืนใหญ่ที่ไทยมีประจำการมากที่สุดในยุคนั้น มันได้รับภารกิจในการช่วยโดยตรง กองพลทหารราบและทหารม้า มันได้เข้าร่วมสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์ และ กรณีพิพาทกับลาว ปัจจุบันไทยมีปืนใหญ่รุ่น M101A1 ประจำการอยู่ 285 กระบอก มันยังถูกดัดแปลงให้ติดลำกล้อง LG1 ขนาด 30 คาลิเบอร์ และเปลี่ยนกล้องเล็งรุ่นใหม่ ซึ่งหากใช้กระสุนต่อระยะมันยิงได้ไกลถึง 17 กิโลเมตร ทีเดียว และก็ยังคงมีมันอยู่ในประจำการมากเช่นกัน หรือในประเทศแถบละตินอเมริกาก็มีมันอยู่ในคลังแสงจำนวนมาก เป็นที่แน่นอนว่าเสียงคำรามอันกึกก้องของเข้า M101 จะยังคงดังต่อไปในโลกปัจจุบัน
M101 ของกองทัพบกไทยที่มีการอัพเกรดลำกล้องและใช้กระสุนต่อระยะ
ที่มา – https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/80/Royal_ Thai_Army_firing_M101_modified_with_extended_range_ammunition.jpg/800px-Royal_Thai_Army_firing_M101_modified_with_extended_range_ammunition.jpg?20160819062615