ยูเครน อดีต 1 ในรัฐเครือสหภาพโซเวียต ได้รับเอกราชภายหลังสงครามเย็น และกลายเป็นประเทศ ยูเครน ในปัจจุบัน แต่ด้วยความที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อรัสเซีย ทั้งอยู่ใกล้รัสเซีย รวมถึงเป็นทางออกสู่ทะเลดำ ทำให้รัสเซียหมายที่จะแพร่อิทธิพลเข้าไปในยูเครนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง กระทั่ง ค.ศ.2014 กองกำลังไม่ทราบฝ่ายได้ เข้ายึดครองคาบสมุทรไครเมีย และประกาศลงประชามติรวมกับรัสเซีย ซึ่งถือเป็นการกระทำที่อุกอาจและสหประชาชาติไม่ยอมรับ และตามมาด้วยสงครามกลางเมือง ดอนบาส (Donbas) และ ลูฮานส์ (Luhansk) ซึ่งรัสเซียหนุนหลังกบฏ แบ่งแยกดินแดนดังกล่าวมาถึงปี ค.ศ.2021 ประธานาธิบดีของยูเครน โวโลดิเมียร์ เชเลนสก (Volodymyr Zelenskyy) ได้ออกนโยบายว่าจะนำยูเครนเข้าสู่ NATO เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยของยูเครน สร้างความกดดันให้ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดี รัสเซีย ปูติน ได้ทำการซักซ้อมขนาดมโหฬารอบชายแดนยูเครน รวมถึง เบลารุส ซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลรัสเซีย
การผนวกไครเมีย และ พื้นที่ที่มีความขัดแย้ง
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/24/Ukraine_disputed_regions.svg
ชาติในเครือ NATO รวมถึงสหรัฐอเมริกานั้นเริ่มกังวลว่าอาจจะมีการปฏิบัติการทางทหารในไม่ช้าและเริ่มทยอยส่งอาวุธต่างๆให้ยูเครน จนกระทั่งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปูติน ได้ประกาศ ปฏิบัติการพิเศษทางทหารต่อยูเครน เพื่อทำให้ยูเครน “ปลดอาวุธและปลดอิทธพนาซี” จากแหล่งข่าวหลายที่ประมาณการว่ารัสเซียใช้ทหารในการรุกรานยูเครน 150,000 – 200,000 นาย โดยคาดว่ารัสเซียจะใช้กำลังทั้งสิ้น 120 กองพันทำการยุทธ์เฉพาะกิจ (BTG) ซึ่งพวกเขามีรถถังราวๆ 1,200 คัน ยานเกราะและยานยนต์ประเภทอื่นราวๆ 4,800 – 6,000 คัน เครื่องบินรบ 1,391 ลำ และ เฮลิคอปเตอร์จู่โจม 544 ลำ ในขณะเดียวกันห้วงต้นสงครามกองทัพประจำการของยูเครนทั้งหมดก็มีราวๆ 200,000 นาย รถถัง 2,500 คัน ยานเกาะ 3,000 ั เครื่องบินรบ 132 ลำ และ เฮลิคอปเตอร์ 55 ลำ แต่หากรวมกองหนุน และ กำลังรบอื่นๆด้วยยูเครนอาจจะมีกำลังรบมากกว่า 200,000 นาย
กองทัพยูเครนนับตั้งแต่ ค.ศ.2014 มาได้รับการพัฒนามากขึ้นจากความช่วยเหลือของตะวันตก ทั้งอาวุธต่อต้านรถถัง และ ปืนใหญ่ ในห้วงแรกของการรุกรานรัสเซียใช้ อากาศยานและขีปนาวุธ ระยะไกลกว่าหลายร้อยลูก ยิงทำลายสาธารณูปโภค รวมถึงที่ตั้งทางกรทหารต่งๆขงูคร แต่ปรากฏว่าก็ทำความเสียหายไม่ได้เท่าที่ควร!! เพราะยูเครนมีระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ค่อนข้างดี หลังจากนั้นตามด้วย การรุกใหญ่ ถึง 4 เส้นทาง!!
- เส้นทางรุกด้านเหนือ รุกจากเบลารุสลงใต้มาที่กรุงเคียฟเมืองหลวงของยูเครน
- เส้นทางรุกด้านตะวันออก มุ่งสู่คาร์คิฟ
- เส้นทางรุกตะวันออกเฉียงใต้ รุกสู่ดอนบาส และ ลูฮานส์
- เ้นทางรุกทาใต้ จากไครเมียขึ้นเหนือสู่ เคอร์ซาน
การรุกของรัสเซียในห้วงแรก
ที่มา – https://www.aljazeera.com/wp-content/uploads/2022/03/INTERACTIVE_ UKRAINE_CONTROL- MAP-DAY16_INTERACTIVE_Miltiary-Dispatch.jpg?resize=770%2C513
การโจมตีทางอากาศของรัสเซีย
ที่มา -https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/e9/Russian _bombardment_of_telecommunications_antennas_in_Kiev_%283to4%29.jpg
จุดมุ่งหมายของรัสเซียนั้นคือการรุกอย่างรวดเร็วยึดเมืองใหญ่ๆให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่งยิ่งด้านใต้ของยูเครนที่ติดกับทะเลดำ เพื่อทำให้ฝ่ายยูเครนเสียกำลังใจ และท้ายสุดนั้นคือการปลดรัฐบาลยูเครนของ เชเลนสกี้ ออกและตามด้วยการสถาปนารัฐบาลหุ่นเชิดของตนเอง หรือบ้างก็ว่าความจริงแล้ว ปูติน แค่อยากยึดภาคตะวันออกยูเครนเฉยๆ ฝ่ายยูเครนโต้ตอบโดยการล่าถอยเข้าเมืองและทำสงครามในเมืองเพื่อยื้อการรุกของรัสเซียให้ช้าที่สุด และซุ่มโจมตีเส้นทางการส่งกลังบำรุงของรัสเซี แต่ทังน้ห้าก้างการรุกของฝ่ายรัสเซียนั้นเรียกได้ว่ากว้างมากนั้นคือ 2,100 กิโลเมตร ซึ่งกว้างกว่า ปฏิบัติการบาบารอสซ่า (Operation Barbarossa) ที่เยอรมันรุกรานโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่ 2 เสียอีก!!
การรุกทางใต้นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว กองทัพผสมเหล่าของรัสเซียที่ 58 (58th CAA) รุกไปได้ไกลถึง 60 กิโลเมตรถึง เคอร์ซาน ส่วนกองทัพผสมเหล่ารัสเซียที่ 36 (36th CAA) รุกจากเบลารุส เข้าส่ เชอร์โนบิล ละ มุงหน้าสู่ เคียฟ ส่วนกองทัพผสมเหล่าที่ 35 (35th CAA) ที่อยู่ทางปีกซ้ายของ 36th AAA นั้นรุกมาได้ไม่ไกลก็โดน กองพลน้อยรถถังที่ 10 ของยูเครนถ่วงเวลาไว้ กองทัพผสมเหล่ารัสเซียที่ 41 (41th AAA) รุกสู่เคียฟทางตะวันออก ก็ถูกยันโดย กองพลน้อยยานยนต์ที่ 56 ของยูเครน ที่ ซูมี่ (Sumy) นอกจากรุกด้วย กองทัพผสมเหล่า ขนาดใหญ่ รัสเซียยังใช้ หน่วยรบพิเศษเช่นพลร่ม พื่อเข้ยึดรองนามบิในเคียฟ แต่ปรากฏว่าพวกเขาล้มเหลวในการโจมตีดังกล่าวและสนามบินยังคงอยู่ในการยึดครองของยูเครน กองทัพรถถังของรัสเซียจาก 58th CAA พยายามเจาะแนวเข้าสู่เคียฟแต่ กองพลน้อยยานยนต์ยูเครนก็หยุดการรุกนี้ได้
เส้นทางการรุกสู่เคียฟของรัสเซียซึ่งมากันหลายทิศทาง
ที่มา -https://www.ft.com/__origami/service/image/v2/images/raw/https%3A%2F%2Fd6c748 xw2pzm8.cloudfront.net%2Fprod%2F37b1d720-a455-11ec-8da4-f9725585b272-standard.png?dpr=1&fit=scale-down&quality=highest&source=next&width=700
ในขณะที่แนวรบอื่นๆทหารยูเครนล่าถอยเข้าเมือง แต่แนวรบเคียฟรัสเซียกับเจอการต้านทานอย่างหนาแน่น ซึ่งกองพลหนึ่งของรัสเซียห่างจากอาครรัฐสภาแค่ 9 กิโลเมตรเท่าั้น ในวันที่ 27 กุมาพันธ์ ึ่งตอนนี้ในเคียฟมีแค่ 2 กองพลน้อยที่รักษาเมืองคือ กองพลน้อยต่อต้านอากาศยานที่ 95 และ กองพลน้อยยานยนต์ที่ 72 มาถึงจังหวะนี้อเมริกายื่นข้อเสนอให้ เชเลนสกี้ หลบหนีออกจากเคียฟ แต่เข้าก็ตอบไปว่า
“ตอนนี้ผมกำลังต่อสู้ ผมไม่ต้องการหนี ผมต้องการกระสุน”
การโจมตีสนามบินของพลร่มรัสเซียล้มเหลว
ที่มา -https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/05/Antonov_ Airport_after_Russian_invasion_of_Ukraine_and_Mriya_%283to4%29.jpg/1280px-Antonov_Airport_after_Russian_invasion_of_Ukraine_and_Mriya_%283to4%29.jpg
ตอนนี้มีเพียงแค่ 36th AAA เท่านั้น ที่โจมตีเคียฟจากด้านเหนือ ส่วน 35th CAA นั้นโดนยันอยู่ พวกเขาเลย่ง แค่ กองพลน้อยเดียวมาสมทบกับ 36th CAA กาโจมตหน่วยรบิเศษของรัสเซียที่สนามบินเคียฟก็ล้มเหลวอีก ดูเหมือนว่ารัสเซียจะไม่สามารถเอาชนะยูเครนได้รวดเร็วตามที่หวังและชาติพันธมิตร NATO รวมถึง EU ก็ให้การสนับสนุนยูเครนในด้านต่างๆทั้งอาวุธ การเงิน รวมถึงการแบนรัสเซียในเรื่องต่างๆเช่น ตัดออกจากระบบการเงินโลก หรือ งดซื้อสินค้าจากรัสเซีย ยิ่งทำให้รัสเซียต้องกาเผด็จศึกให้เร็วที่สุดด้วยการยึดเมืองเคียฟ เื่อหวงว่ารัฐบลเชเลนสกี้จะล่ม!! รัสเซียบีบให้ 36th CAA และ 41th AAA ส่งกำลังบางส่วนมาที่เคียฟทั้งๆที่ยังลบติดพันอยู่!! แต่ทั้ง 2 กองทัพก็ไม่สามารถส่งกำลังมาสนับสนุนได้เนื่องจากเส้นทางการส่งกำลังบำรุงของขยายออกจนมีปัญหาและทำให้การรุกหยุดชะงัก
รัสเซียยังไม่สามารถเจาะเข้าเมืองเคียฟได้สักที ถึงแม้ช่วงมีนาคม บางส่วนของ 36th AAA และ 41th AAA จะสามารถทะลวงเข้ามาทางตะวันออกของเคียฟแค่ 20 กิโลเมตรเท่านั้น!! แต่กลายเป็นว่าทหารรัสเซียรอบๆเคียฟเริ่มขุดสนามเพลาะและวางกับระเบิดเพื่อตั้งรับในช่วงปลายมีนาคม!! และยูเครนตีโต้ตอบทหารรัสเซียออกจากเคียฟ วันที่ 4 เมษายน ทหารรัสเซียที่รุกรานเคียฟก็ถอยออกจากยูเครนจนหมด โดยรวมแล้วรัสเซียผิดพลาดหลายอย่างเช่น พื้นที่การรุกของรัสเซียนั้มากเกินไป ส่งผลให้การรุกของรัสเซยไม่สามารทำงาประสานอดคล้องกัได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและที่ตามมาอีกคือปัญหาในการส่งกำลังบำรุงอันยากลำบาก จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกของสงครามทหารรัสเซียได้ออกปล้นชาวบ้านเพื่อหาเสบียง และเมื่อการส่งกำลังบำรุงยากลำบาก ส่งผลให้ขวัญกำลังใจทหารตกต่ำ เป็นผลให้ยูเครนสามารถป้องกันเคียฟไว้ได้และรัสเซียไม่สามารถเอาชนะสงครามได้ในเวลาอันสั้น
ยานเกราะของรัสเซียแถบชานเมืองเคียฟ
ที่มา -https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/20/Battle_ of_Hostomel%2C_04.03.2022%2C_Skirmish_Aftermath.jpg/1280px-Battle_of_Hostomel%2C_04.03.2022%2C_Skirmish_Aftermath.jpg