เคียฟเมืองหลวงของยูเครนในปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในยุโรปตะวันออก และเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งในแถบนั้น ก่อนมอสโกเสียอีก ตลอดห้วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เคียฟ นั้นเคยเป็นสมรภูมิหลายครั้ง ซึ่งใน ค.ศ.2022 นี้เองที่กองทัพรัสเซียเปิดฉากรุกรานเคียฟอย่างรุนแรงแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องล่าถอย ไปเปิดสงครามเฟส 2 ทางตะวันออกของยูเครนแทน มาวันนี้จะมาพูดถึงอีก 1 ในสมรภูมิที่เมืองเคียฟในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือเป็นการยุทธที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้
ย้อนกลับไปช่วงปฏิบัติการบาบารอสซ่าใน ค.ศ.1941 เมื่อกองทัพนาซีเยอรมันจำนวนมหาศาลได้ทำการรุกรานสหภาพโซเวียตแบบสายฟ้าแลบ กองพลยานเกราะของเยอรมันสามารถรุกเข้าไปในสหภาพโซเวียตอย่างรวดเร็วได้หลายร้อยไมล์ และจับเชลยทหารโซเวียตได้เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ความมุ่งหมายของฮิตเลอร์และบรรดานายพลเกิดขัดแย้งกัน ฮิตเลอร์ต้องการรุกไปยึดทรัพยากรและโรงงานจำนวนมากทางใต้ของโซเวียต ในขณะที่ นายพลส่วนใหญ่กับเห็นว่าควรยึดเมืองหลวงอย่างมอสโกก่อน ท้ายสุดนายพลก็ต้องฟังคำสั่งฮิตเลอร์ ทั้งนี้การรุกรานรัสเซียนั้นประกอบด้วย 3 กลุ่มกองทัพหลัก (กลุ่มกองทัพหมายถึงหลายๆกองทัพมารวมกัน) นั้นคือ กองทัพกลุ่มกลาง , กลุ่มเหนือ และ กลุ่มใต้
ปฏิบัติการบาบารอสซ่า กองทัพเยอรมันเปิดฉากรุกสหภาพโซเวียตเป็น 3 ทิศทางหลัก
ที่มา – https://patr.io/TheBattleforStalingrad
กองทัพกลุ่มกลางของเยอรมัน ได้มาถึงตอนเหนือของเคียฟ ไปไม่กี่ร้อยไมล์ พวกเขาได้แยก กองทัพแพนเซอร์ที่ 2 และกองทัพที่ 2 ลงใต้ไปเพื่อยึดไปสมทบกับกองทัพกลุ่มใต้ ทำให้ กองทัพกลุ่มใต้ในเวลานี้มีจำนวนมาก ถึง 25 กองพลทหารราบ 9 กองพลแพนเซอร์ จำนวนราวๆกว่า 544,000 นาย!! พวกเขาเผชิญหน้ากับกองทัพภาคใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซียที่มี จอมพล ซีมอน บูดอนไนย (Marshal Budyonny) เป็น ผบ. กองทัพกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ในห้วงนั้นเป็นกองทัพที่ไม่พร้อมรบขาดแคลนอาวุธ และไม่เคยเจอการรบแบบสายฟ้าแลบมาก่อน ทำให้พวกเขา พ่ายแพ้อย่างราบคาบในหลายแนวรบ ในวันที่ 8 สิงหาคม กองทัพเยอรมันรุกมาถึงทางตะวันตกของเคียฟที่เมือง อูมาน และสามารถสร้างความเสียหายให้กองทัพโซเวียตได้ 200,000 นาย
จอมพล ซีมอน บูดอนไนย (Marshal Budyonny)
ที่มา – https://patr.io/MarshalBudyonny
กองทัพภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซียต้องถอยมาตั้งรับที่แม่น้ำ ดนีเปอร์ (Dnieper River) อันเป็นแนวป้องกันไม่ให้เยอรมันรุกถึงเคียฟ กองทัพกลุ่มใต้ของเยอรมัน พยายามล้อมกรอบเมืองเคียฟ และบริเวณรอบๆที่มีทหารโซเวียต ราวๆ 600,000 กว่านาย!! นายพล มิคาฮิล เกปานอส (Mikhail Kirponos) ผบ.กองทัพตะวันตกเฉียงใต้ของโซเวียต เห็นท่าไม่ดีเลยขอคำสั่งจากเบื้องบนให้ถอยทัพ แต่กับได้รับคำสั่งให้ตั้งรับอย่างสุดความสามารถ สิ้นเดือนสิงหาคม กองทัพแพนเซอร์ที่ 2 และ กองทัพที่ 2 ของเยอรมัน ก็บุกมาทางทิศเหนือของเคียฟ และตั้งใจจะล้อมกรอบ เคียฟ ฝ่ายโซเวียตพยายามใช้สงครามกองโจรในการหยุดการรุกจากทางเหนือของเยอรมันแต่ก็ล้มเหลวไม่สามารถหยุดยั้งการรุกได้
ทหารเยอรมันรบในหมู่บ้านทางตะวันตกของเคียฟ
ที่มา – https://patr.io/GermanSoldierInKiev
ข่าวร้ายยิ่งกว่ามาถึงเมื่อ กองทัพแพนเซอร์ที่ 1 ได้รุกข้ามแม่น้ำดนีเปอร์ (Dnieper) ทางใต้ของเคียฟในวันที่ 12 กันยายน และกำลังยกทัพขึ้นเหนือไปบรรจบกับกองทัพที่ 2 ของเยอรมันที่รุกลงใต้มา ทหารโซเวียตกว่า 600,000 นาย กำลังจะโดนล้อม!! ตอนนี้ จอมพล บูดอนไนย ขอร้องไปยัง โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของโซเวียต ให้ถอยทัพ แต่สตาลิน เกรี้ยวกราดหาว่า บูดอนไนย ไร้ความสามารถและปลดเขาออกจากตำแหน่ง!! และแทนที่ด้วย จอมพล ซีมอน ทีโมเชนโก้ (Marshal Timoshenko) ยังพอมีข่าวดีอยู่บ้างเมื่อวันที่ 13 กันยายน กองทัพแพนเซอร์ที่ 1 เจอการต่อต้านอย่างเข้มแข็งที่เมือง ลูบนี่ (Lubny) จนการรุกต้องชะงัก แต่ก็ได้ไม่นานนักเพราะวันที่ 16 กันยายน กองทัพแพนเซอร์ที่ 1 ที่รุกขึ้นเหนือก็มาบรรจบกับกองทัพแพนเซอร์ที่ 2 และ กองทัพที่ 2 ของเยอรมัน ที่รุกลงใต้!! เมืองเคียฟโดนล้อมกรอบในที่สุด!!
กองทัพเยอรมัน (พื้นที่สีแดง) พยายามโอบล้อมกองทัพโซเวียต (พื้นที่สีขาว) บริเวณเคียฟและเมืองรอบๆ
ในเคียฟและบริเวณรอบๆนั้นมีกองทัพโซเวียตมากถึง 4 กองทัพ แม้แต่นายพลเยอรมันยังตกใจเช่นกันว่าทำไมกองทัพโซเวียตในเคียฟถึงมากมายขนาดนี้ ในวันเดียวกันก็มีคำสั่งให้กองทัพโซเวียตที่อยู่ในเคียฟถอยออกจากเมืองได้แต่ก็ดูเหมือนจะสายไปแล้ว วันที่ 18 กันยายน กองทัพอากาศเยอรมันปูพรมเคียฟขนานใหญ่ จนเมืองกลายเป็นซาก กองทัพเยอรมันรุกจากทุกทิศทุกทางเข้าหาเคียฟ แม้จะมีการพยายามต่อสู้อยู่บ้างแต่ก็ไร้ผล 19 กันยายน กองทัพเยอรมันยาตราสู่เคียฟ ยังมีการต่อสู้รอบๆกรุงเคียฟ แต่ในตอนนี้กองทัพโซเวียตทางใต้นั้นแทบจะหมดสภาพแล้ว ผบ.ระดับสูงหลายคนหนีออกจากการปิดล้อมได้ทัน ส่วนนายพล เกปานอส ตายในระหว่างการสู้รบ
ทหารเยอรมันเข้ายึดครองเมืองเคียฟ
ที่มา – https://patr.io/GermanOccupyKiev
มีทหารเพียง 15,000 นายเท่านั้นที่สามารถเล็ดลอดหนีออกจากแนวรบภาคใต้ได้ วันที่ 26 กันยายน ทหารโซเวียต กลุ่มสุดท้ายที่ต่อสู้ในเคียฟได้ยอมจำนน โดยรวมตั้งแต่เริ่มการยุทธที่เคียฟนั้น โซเวียตสูญเสียทหารไปราวๆ 700,000 นาย!! ซึ่งถือว่าเป็นการล้อมกรอบกองทัพที่ใหญ่ที่สุดและประสบความสำเร็จที่สุดตั้งแต่เคยมีมา!! ถึงแม้โซเวียตจะเสียหายหนัก และเยอรมันดูเหมือนจะได้เปรียบแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยังคงยาวนานนักกว่ามันจะจบลง และสมรภูมิเคียฟก็ถือเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิใหญ่ในนั้น