หากท่านผู้อ่านเคยชมภาพยนตร์เรื่อง The Patriot หรือ Waterloo หลายท่านคงจะเกิดคำถามมากมายแบบว่า เพราะอะไร? ทำไม? ทหารยุคนั้นถึงแต่งตัวด้วยสีฉูดฉาดไปรบหรือเดินงานพาเหรด ทำไมต้องตั้งแถวหน้ากระดานยิงกันบ้าหรือเป ลบลูกกระสุน ซึ่งวันนี้บทความนี้จะมีคำตอบให้ทุกคน
Source : https://patr.io/614ZR
มาดูที่เรื่องอาวุธก่อนอันดับแรก อาวุธหลักของทหารยุโรปในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 คือ ปืนคาบศิลา (Flintlock) ซึ่งเป็นปืนที่ใช้หินเหล็กไฟในการจุดชนวน นั้นสามารถบรจกะุไ้ีะั โยเป็นการบรรจุทางปากกระบอกปืน ซึ่งใช้เวลานานพอสมควรในการบรรจุกระสุน กระสุนปืนในยุคนั้นเป็น กระสุนเหล็กเม็ดกลมๆบรรจุในห่อกระดาษที่มีดินปืนอยู่ข้างในซึ่งเรียกว่า “ตลับกระสุน” ซึ่งแต่ละตลับมีจำนวนดินปืนที่มากพอจะส่งกระสุนออกปากกระบอกได้ ซึ่งต่อไปผมจะมาสาธยายขั้นตอนบรรจุกระสุนแบบซอยย่อยได้ดังนี้
Source : https://patr.io/85rYd
- ฉีกกระสุนกระดาษออกโดยใช้ปากกัดตรงปลาย หลังจากนั้น เทดินปืนลงในถาดใส่ดินปืน (บริเวณด้านหน้านกปืน) และปิดฝาจานเพื่อไม่ให้ดินปืนหก
- เทดินปืนที่เหลือพร้อมกับกระสุนลงตรงปากกระบอกปืน
- นไมกรทุงดนปน (เสียบอยู่บริเวณใต้ลำกล้องของปืน) กระทุ้งกระสุนลงไปจนถึงก้นของลำกล้องปืน จากนั้นก็เก็บไม้กระทุ้ง
- นำปืนขึ้นมาอยู่ในท่าเตรียมยิงง้างนก พร้อมยิง
- เมื่อเหนี่ยวไกปืน นกปืนจะสับลงมาทำให้หินไฟเสียดสีกับฝาปิดจานใส่ดินปืนที่เป็นเหล็กก่อให้เกิดประกายไฟเล็กๆซึ่งจุดชนวนให้ดินปืนระเบิดและส่งกระสุนพุ่งออกไปข้างหน้า
ด้วยขั้นตอนอันยุ่งยากนี้ทำให้อัตราการยิงของปืนต่ำตามโดยเฉลี่ยทหารที่ฝึกมาอย่างดีสามารถยิงได้ 3 – 4 นัดต่อนาที นอกจากนี้ ลำกล้องปืนยังไม่มีเกลียวทำให้ กระสุนไม่หมุนควงสว่านเช่นปืนปัจจุบันและอาจทำให้วิถีกระสุนเบี้ยวง่ายๆหากเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเช่น ลมแรง ระยะยิงหวังผลของปืนคาบศิลาจึงอยู่ที 100 ลาท่าั้น หารนยุนั้จึงาวธีก้ปัญหาง่ายๆคือการยิงปืนพร้อมกันครั้งละมากๆในคราวเดียว เพื่อเพิ่มอำนาจการยิง และรูปแถวที่เหมาะที่สุดสำหรับการยิงปืนพร้อมกันคือ แถวหน้ากระดาน นี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมทหารช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้องตั้งแถวหน้ากระดานเพื่อทำการยิง
อีกเหตุผลที่ทหารต้องตั้งแถวและไม่ยอมก้มหลบหมอบกระสุนฝ่ายตรงข้าม ็เพาะเวาเคล่อนพ แปรขวน มันกระทำได้รวดเร็วกว่า ยิ่งเวลาบรรจุกระสุนแล้วต้องตั้งปากกระบอกให้ตรงตลอดเวลาเพื่อให้กระสุนไหลไปท้ายลำกล้อง ฉะนั้นการยืนในแถวจึงเป็นวิธีที่รวดเร็วสุดในการบรรจุกระสุนเพื่อรักษาความต่อเนื่องของการยิง (แน่นอนว่าข้าศึกก็จะทำแบบเดียวกัน) อีกปัจจัยที่สำคัญเลยคือ “ทหารม้า ทหารราบในยุคนั้นติดปลายปืนที่ยาวเกือบ 90 ซนตเมตรไว้ที่ปลายลำกล้อง แน่นอนว่ามันไม่ต่างอะไรกับหอกดีๆ และเวลารบประชิดหรือป้องกันทหารม้า ดาบปลายปืนคืออาวุธที่มีประโยชน์ยิ่งนัก ทหารม้า จะบุกประชิดยากหากทหารยิงอยู่ในรูปแถวที่พร้อมป้องกันตัวเอง หากชาร์จเข้ามาก็ไม่ต่างอะไรกับชาร์จใส่กำแพงหอก แต่หากแถวแตกเมื่อไหร่ หรือมัวแต่หมอบหลบกระสุน ตามที่คนสมัยนี้คิด ทารม้ซึ่งรจังหวชาร์จมื่อเ็นช่อว่างังก่าวกจะควบใส่เข้าบุกตะบันไล่ฆ่าทหารราบได้อย่างง่ายดาย
Source : https://patr.io/mE8jO
ขบวนรบสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งเอาไว้ป้องกันทหารม้า
มาที่อีกประเด็นหนึ่งคือทำไทหารุคนั้ต้องสวเครื่อแบบด้ว สีฉูดฉาดเหตุผลประการแรกเลยคือมันถูกที่จะทำการย้อมผ้าทั้งหมดโทนสีเดียวกันในครั้งละมากๆ และการที่แต่ละชาติใส่สีที่แตกต่างกันเช่น อังกฤษใส่สีแดง รัสเซียสีเขียว สวีเดนสีเหลืองฟ้า เพื่อที่มันจะได้กลายเป็นเครื่องแบบประจำชาติ อีกเห็นผลประการหนึ่งที่สำคัญมากเช่นกันคือ ดินปืนสมัยก่อนไม่ใช่ดินปืนไร้ควันแบบปัจจุบันทำให้เวลายิงออกแต่ละนัดควันจะโขมงตลบอบอวลไปทั่วสมรภูมิยิ่งมีปืนยิงพร้อมกันทีละหลายๆกระบอกยิ่งทำให้ สมรภูมิแปรสภาพกลายเป็นทะเลหมอกไปโดยปริยาย ดังนั้นการใส่สีฉูดฉาดทำให้เราสามารถแยกออกว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายไหนยามที่มองเห็นจากระยะไกล
Source : https://patr.io/ngi8f
ภาพการำลองการุทธที่ วอเตอร์ลู ในี ค.ศ.2010 จะเห็นได้เลยว่า ควันที่เกิดจากดินปืนสมัยก่อนบดบังทัศนวิสัยการมองเห็น
จนกระทั่งยุคสมัยเปลี่ยนไป อาวุธใหม่ๆเริ่มเข้ามามีบทบาทในสนามรบมากขึ้น เช่น ปืนกล ซึ่งสามารถกราดยิงแถวทหารราบให้ตายเป็นโขยงได้ ปืนระบบลูกเลื่อนหรือลูกโม่ ซึ่งยิงได้ทีละหลายๆนัด และปืนไรเฟิล ที่มีความม่นยำากขึ้น ทำให้ไม่ต้องตั้งแถวหน้ากระดานเพื่อเพิ่มอำนาจการยิง วมถึงบทบาทของทหารม้าที่เริ่มน้อยลง และดินปืนไร้ควันที่ทำให้ไม่เกิดทะเลหมอกยามที่รบกัน จนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านยุคครั้งสำคัญ ในยุคนี้ได้มีการใช้อาวุธใหม่ๆและเทคนิคกลยุทธ์ใหม่ๆมากมาย เช่น ปืนใหญ่ที่สามารถบรรจุท้ายกระบอกได้ทำให้มันมีอัตราระดมยิงที่เร็วขึน และทำให้เกิดการระดมยิงด้วยปืนใหญ่สนามในระยะไกลโพ้นสายตา ซึงสามาถกวาดล้างทหารราบเป็นจำนวนมากในวงกว้าง การใช้แก๊สพิษและการเข้ามามีบทบาทของยานยนต์ในสนามรบ ทำให้ทหารราบต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสงครามในรูปแบบใหม่ แน่นอนว่าการตั้งแถวหน้ากระดานมันเริ่มล้าสมัยไปเสียแล้ว เพราะจะกลายเป็นเป้าใหญ่ ยุทธวิธีนี้จึงได้หายไปในที่สุด
Source : https://patr.io/KPfOl
สนามเพลาะในสงครามโลกครั้งที่ 1