X

ยุทธนาวีเกาะช้าง ดวลเดือดฝรั่งเศส

ในช่วง ค.ศ.1940 ไฟของสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังร้อนแรง ในช่วงมิถุนายนของปีเดียวกันนั้น นาซีเยอรมัน สามารถเอาชนะฝรั่งเศสได้ และจัดตั้งรัฐบาลวิชี (Vichy Regime) ขึ้นมาเพื่อปกครองฝรั่งเศส ทำให้ห้วงเวลาดังกล่าวฝรั่ศสวิชี อ่อนแอลงมาก และทำให้ญี่ปุ่น 1 ในพันธมิตรแนวร่วมอักษะ (Axis Power) ของเยอรมัน มองเห็นโอกาสที่จะเข้าแทรกแซง อิทธิพลของฝรั่งเศสในอินโดจีน จึงได้ยุยงให้ รัฐบาลไทยในสมัยนั้นของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เข้าร่วมสงครามกับฝรั่งเศส ซึ่งตัวจอมพลแปลกเองนั้น ก็มีแนวคิดที่ค่อนข้างโน้มเองไปทาง ชาตินิยม และต้องการจะขยายอาณาเขตให้ไทยกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

source : https://patr.io/aNPJA

จอมพล แปลก ได้ใช้กระแสความชาตินิยมในไทย ปลุกปั่นให้คนไทยเกลียดชังฝรั่งเศส โดยยกกรณี ร.ศ.112 ขึ้นมาใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อและอ้างถึงสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรมท่ฝรั่งเศสได้ทำกับไทย เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนเขมรและลาวคืนให้แก่ไทย แน่นอนว่าข้อเสนอดังกล่าวถูกปฏิเสธ และไม่นานนักญี่ปุ่นได้ทำการรุกรานอินโดจีนของฝรั่งเศส จอมพลแปลก เห็นเป็นโอกาสดีจึงได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส การปะทะกันได้เริ่มต้นขึ้นในช่วง ตุลาคม ค.ศ.1940 กองทัพอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้นอ่อนแอมาก ทั้งขาดยุทธปัจจัยและเสบียง และกำลังจะโดนตัดขดโดทัพเรือญี่ปุ่น ในขณะที่ กองทัพบกไทย นั้นได้รับการติดอาวุธจากทั้งญี่ปุ่น และมีนักบินรับจ้างจากอิตาลีและเบลเยียมที่มีฝีมือ การรบทางบกฝรั่งเศสเสียเปรียบไทยมากทำให้ความหวังเดียวของฝรั่งเศสที่จะชนะครั้งนี้คือทัพเรือในอินโดจีน

กองทัพบกของไทยที่ได้รับกรติดาวุธที่ประสิทธิภาพ

source : https://patr.io/bSxq8

จอมพลเรือ ฌอง ดูว์โกต์ ผู้ว่าการเขต ฝรั่งเศสอินโดจีน เห็นว่าหากสามารถทำให้อำนาจทางทะเลของไทยเสีย ด้วยการทำลายกองทัพเรือของไทยทิ้ง อาจจะทำให้ ไทยเข้าสู่โต๊ะเจรจาสันติภาพได้ ดูว์โกต์ จึงได้อนุมัติให้ กองเรือฝรั่งเศสในอินโดจีน เดินทางเข้าสู่อ่าวไทยได้ ในวนที่ 15 มกราคม ค.ศ.1941 ภารกิจของพวกเขานั้นคือ“คือการค้นหาและทำลายกองเรือของไทย” ฝรั่งเศสได้จัดกองเรือขนาดเล็กที่ชื่อว่า กองเรือเฉพาะกิจ (Groupe Occasionnel) ที่เมืองท่า คัมรามน์ ในเวียดนาม โดยมี ผู้บังคับการเรือ ลามอต ปิเกต์ (Lamotte-Picquet) นาวาเอก เรจี เบรังเยร์ (Capitaine de Vaisseau Régis Bérenger) เป็น ผบ.กองเรือเฉพาะกิจ โดยสำหรับกองเรือเฉพาะกิจนั้นมี เรือ ลามอต ปิเกต์ ระวางขับน้ำ 8,000 ตัน อาวุธปืน 6 นิ้ว 1 กระอก 75 มิลลิเมตร 4 กระบอก และท่อปล่อยตอร์ปิโด 12 ท่อ ลามอต ปิเกต์ นั้นเป็นเรือที่มีความคล่องตัวมาก แต่มีเกราะที่บาง นอกจากนี้ยังมีเรือ สลุป 2 ลำคือ เรือ อามิราล ชาร์เนร์ (Amiral Charner) และ เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ (Dumont d’Urville) ซึ่งมีปืน 5 นิ้วเป็น อาวุธหลัก และมีความคล่องตัวสูงเช่นกัน แต่มีปัญหาเดียวกับ ลามอต ปิเกต์ คือเกราะที่บางกว่า ระวางับน้ำของทั้ง 2 ลำอยู่ที่ราวๆ 2,000 ตัน และยังมีเรือสินค้าช่วยรบอีก 2 ลำคือ เรือมาร์น (Marne) และเรือตาอูร์ (Tahure) ฝรั่งเศสยังมีเครื่องบินลาดตระเวนสนับสนุนรุ่น Loire 130 คอยสนับสนุนในการลาดตระเวนทั้งสิ้น 9 ลำ ซึ่งจอดอยู่ที่ฐานทัพเรือที่ เรียม ที่เขมร และยังมีการหาแหล่งข่าวเพิ่มเติมจากเรือประมงในละแวกใกล้ๆ แต่ทั้งนี้ ทหารเรือฝรั่งเศสไม่คุ้นชินกับน่านน้ำอ่าวไทย ซึ่งถือว่าเป็นน่านน้ำอันตรายสำหรับพวกเขา

นาวาเอก เรจี เบรังเยร์

source : https://patr.io/GIkHy

เรือลาดตระเวนเบา ลามอต – ปิเกต์

source : https://patr.io/WXkpF

กองทัพเรือไทยถือว่าได้รับการพัฒนาจนทันสมัยมีการต่อเรือรบจำนวนมากจากทั้ง อิตาลี และ ญี่ปุ่น เช่น เรือหลวงธนบุรี และ เรือหลวงศรีอยุธยา เป็นเรือปืนยามฝั่งต่อมาจากญี่ปุ่น โดยมีเขี้ยวเล็บคือปืนขนาด 8 นิ้ว 4 กระบอกจำนวน 2 ป้อม ซึ่งใหญ่กว่าปืนของเรือ ลามอต ปิเกต์  เรือตอร์ิโด 12 ลำ เรืปืนรุ่นเก่าจากอังกฤษ 2 ลำ เรือดำน้ำ 4 ลำ ในแง่อากาศยาน ในตอนนั้นไทยมีเครื่องบินมากถึง 140 ลำ และมีหลายลำสามารถปฏิบัติการณ์เพื่อต่อต้านเรือรบของฝรั่งเศสในอ่าวไทยได้ หากเทียบกันในแง่ระวางขับน้ำและ กำลังพล ฝรั่งเศสถือว่าเป็นรองฝ่ายไทยมาก 

เรอหลวงธนบุรี

source : https://patr.io/BUKLA

source : https://patr.io/G0L3S

ในช่วงเวลา 2100 น.วันที่ 15 มกราคม ค.ศ.1941 เกาะกงเซิน ทางใต้ของเวียดนาม กองเรือเฉพาะกิจของฝรั่งเศสได้เดินทางด้วยความเร็ว 13.5 นอต เพื่อเข้าสูอ่าวไทย กระทั่งเช้าตรู่วันที่ 16 มกราคม เครื่องบินทะเลลาดตระเวนของฝรั่งเศสได้แจ้งข่าวกลับมาว่า ที่สัตหีบ ไทยมีกองเรือทั้งสิ้นดังนี้ เรือปืนยามฝั่ง 1 ลำ เรือตอร์ปิโด 4 ลำ เรือดำน้ำ 2 ลำ และเรือยุทธปัจจัยอีก 2 ลำ ส่วนที่เกาะช้างมี เรือปืนยามฝั่ง 1 ลำ เรือตอร์ปิโด 3 ลำ

เบรังเยร์  เห็นว่าหากรวบรวมกำลังเข้าตีเรือของไทยที่แยกออก 3 ลำที่เาะช้างจะทำให้ตัวเองเป็นต่อ เพราะจะเหนือกว่ากำลังรบของข้าศึกในตำบลที่ทำการรบ (Local Superiority) จึงได้ออกคำสั่งให้เรือรบทั้งหมดในกองเรือเฉพาะกิจเข้าโจมตี เรือรบของไทยจำนวน 3 ลำที่เกาะช้าง 

ในเวลา 0530 น.ของวันที่ 17 มีนาคม กองเรือเฉพาะกิจ เข้าใกล้ที่หมายมากขึ้น บริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะช้าง ซึ่งมี เกาะแก่งมากมายเป็นที่ กำบังสายตาของฝ่ายไทย เรังเยร์ วางแผนจโจมตี โดย ให้เรือ เรือมาร์น และเรือตาอูร์ เข้ารับผิดชอบในตำบล เกาะคลุ้ม ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะช้าง เรือ อามิราล ชาร์เนร์ และ เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ รับผิดชอบตำบล เกาะหวายทางใต้ของเกาะช้าง และ เรือ ลามอต ปิเกต์ จะรับผิดชอบทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะช้าง ซึ่งคาดว่าจะเป็นทางหนีของเรือรบไทยที่ทอดสมออยู่ ในช่วงเวลา 0605 เบรังเยร์ ได้สั่งให้เครื่องบินทะเลทำการลาตระเวน อีกครั้งแต่ถูกตรวจพบโดยฝ่ายไทยและโดนระดมยิงอย่างหนักจนต้องถอยกลับมา ทั้งนี้ เนื่องด้วยในยามย่างรุ่ง ทำให้ท้องฟ้าสลัว และเรือรบสีเทาของทั้ง 2 ฝ่าย ก็กลืนไปกลับสภาพของทะเลทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่ได้เจอกันซึ่งๆหน้า ทั้งนี้เรือรบฝ่ายไทยส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในสภาพพร้อมรบ ลูกเรือของไทยกำลังหลับกันอยู่ หม้อต้มน้ำเครื่องจักรยังไม่ได้ถูกจุดำให้พวกเขาเป็นเ้านิ่ง

แผนที่การรบในสมรภูมิเกาะช้าง

source : https://patr.io/GFE0V

และแล้วเวลา 0614 ฝ่ายเรือ ตอร์ปิโดของไทยคือ กับ ชลบุรี เปิดฉากยิงใส่เรือสินค้าติดอาวุธฝรั่งเศส 2 ลำ และได้ยงปะทะกันอย่างดุเดอด ในขณะเดียวกัน ลามอต ปิเกต์ ได้เปิดฉากยิงใส่เรือตอร์ปิโด 2 ลำของไทย ด้วยปืนใหญ่เรือและตอร์ปิโด เรือตอร์ปิโดของไทยทั้ง 2 โดนระดมยิงอย่างหนักตั้งแต่ช่วง 0619 ถึง 0637 น. ในไม่ช้าทั้ง 2 ก็จมลง!! มาถึงจังหวะนี้เหลือ เรือหลวงธนบุรี เท่านั้นที่ต้องสู้กับกองเรือฝรั่งเศสถึง 5 ลำ!! ธนบุรี แล่นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เกาะแก่งทั้งหลายกำบังกระสุนจากองเรือฝรั่งเศสทั้งหมด  ลามอต ปิเกต์ ไล่ตาม ธนบุรี ไปติดด้วยความเร็วสูงถึง 27 น็อต!! เรือรบทั้ง 2 ต่างใช้เกาะในการกำบังตนเองและเปิดฉากยิงใส่กันประปรายตั้งแต่ช่วง 0638 น. ตั้งแต่ระยะ 10 กิโลเมตร แม้เรือธนบุรีจะมีปืนที่ใหญ่กว่าปืนของ ลามอต ปิเกต์ แต่ปืนพวกเขายิงได้ไม่แม่นนัก จนถึงเวลา 0700 น. เรือสลุปของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาทำการช่วย ลามอต ปิเกต์ ในช่วง เวลา 0715 เรือหลวงธนบุร ถูกยิงเข้าจังๆจน ผู้ังคับการเรือหลวงพร้อม วีระพันธ์ เสียชีวิต ทำให้การบังคับบัญชาเกิดความสับสน

ท้ายเรือหลวงธนบุรี เริ่มจมลง ปืนของเรือหลวงธนบุรียิงได้แค่ปืนหัวเท่านั้น ตอนนี้ ธนบุรี เปลี่ยนเป้าหมายไปยิงใส่ เรือ อามิราล ชาร์เนร์ แทน เพราะคิดว่ามีโอกาสชนะได้มากกว่าการปะทะกับ ลามอต ปิเกต์!! แต่ไม่นานนักก็ โดน ลามอต ปิเกต์ ยิงเข้าไปอีกดกจนปืนทั้งหมดของธนบุรไม่อยู่ในสภาพที่ยิงได้!! เรือหลวงธนบุรีแล่นไปเกยตื้นในที่สุด แต่แทนที่จะติดตามผลของชัยชนะต่อ เบรังเยร์ กลับสั่งให้กองเรือของเขาทั้งหมดกลับเพราะกลัวการโจมตีทางอากาศของไทยที่น่าจะตามมาในทีหลัง ซึ่งมันก็เกิดขึ้นจริงเพราะในช่วง เวลา 0800 – 0900 น. เครื่องบินรบไทยเริ่มเข้าโจมตีกองเรือฝรั่งเศสจน เบรังเยร์ ต้องล่าถอย กลับไปยังเวียดนาม

เรือหลวงธนบุรียิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศส

source : https://patr.io/vhJO5

สรุปผลการยุทธแล้วฝ่ายฝรั่งเศสไม่สูญเสียเลยแม้แต่น้อย สำหรับฝ่ายไทยนั้นเรือรบถูกทำลายไปถึง 3 ลำ หรือหากจะว่ากันง่ายๆเลยคือ 1 ใน 4 ของกองทัพเรือไทยทั้งหมดในตอนนั้น!! หากในแง่ยุทธวิธีแล้วถือว่า เบรังเยร์ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามตามแผนที่เขาวางไว้ ทั้งการเข้าโจมตีข้าศึกตอนที่ยังไม่ทันตั้งตัวและสามารถแบ่งแยกและทำลายกองทัพเรือไทยได้อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ลูกเรือของฝรั่งเศสยังได้รับการฝึกที่ดีกว่าผิดกับของไทยที่ขนาดรู้ว่ามีเครื่องบินข้าศึกมาลาดตระเวนก็ยังไม่กระตือรือร้นที่จะต่อสู้รบ และพลปืนของฝั่งเศสยิงแม่นกว่าฝ่ายไทมากนักทำให้กองเรือไทยต้องพบกับหายนะ อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นได้เข้ามาแทรกแซงและเป็นตัวกลางในการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายให้สงบศึกกันทำให้ฝรั่งเศสไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากชัยชนะได้เต็มที่

เรือหลวงธนบุรีซึ่งปัจุบันถูกตั้งเป็นอนุสรณ์ท่ โรงเรียนนายเรือ

source : https://patr.io/OxVf7