X

ยกพลขึ้นบกที่ ตาระวา เกาะเล็กแค่ 1 ไมล์แต่ทำไมยึดยากจัง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวรบแปซิฟิกอันเป็นแนวรบที่อเมริการบกับญี่ปุ่น หลังการยุทธที่มิดเวย์ ญี่ปุ่นเริ่มเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำและโดนตีตอบโต้ โดยฝ่ายอเมริกันได้ใช้ยุทธศาสตร์ที่ชื่อว่า “Island – Hoping” หการกระโดดยึดไปตามเกาะในแปซิฟิกที่ญี่ปุ่นยึดครองโดยใช้แต่ละเกาะเป็นฐานทัพบินสนับสนุนเพื่อยึดอีกเกาะหนึ่งทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนรุกไปถึงแผ่นดินญี่ปุ่นทั้งนี้ในช่วงปลาย ค.ศ.1943 อเมริกันได้วางแผนปฏิบัติการณ์ กัลวานิค (Operation Galvanic) ึ่งเป็นการรุกเข้าไปใน หมู่เกาะปะการังชื่อว่า ตาะา (Tarawa) และเข้ายึดเกาะเบติโอ ซึ่งอยู่กึ่งกลางของหมู่เกาะปะการัง ตาระวา ซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่ง ตาระวา 

ยุทธศาสตร์ “Island – Hoping” ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งค่อยๆกระโดดยึดเกาะที่ญี่ปุ่นครอบครองไปทีละเกาะ

source : https://patr.io/sSM1f

ตาระวามีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมด้านตะวันออกยาว 18 ไมล์ ใต้ยาว 12 ไมล์ ตะวันตกยาว 12.5 ไมล์ ตามเกาะมีต้นมะพร้าวขึ้นและพุ่มไม้มากมาย ทั้งนี้ เกาะเบติโอ ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญนั้น ได้รับการป้องกันอย่างหนาแน่นจากฝ่ายญี่ปุ่นมาก ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดเล็กมากนั้นคือยาว 2 ไมล์และกว้างแค่ครึ่งไมล์ พลเรือเอก เคจิ ชิบาซากิ (Admiral Keiji Shibasaki) ถึงกับกล่าวว่า พวกอเมริกันต้องใช้คน 1 ล้านคนและเวลา 100 ปี ในการยึดครอง ตาระวา กองกำลังป้องกัน เบติโอ ประกอบด้วยทหารราวๆ 4,500 – 4,800 นาย โดยกว่าครึ่งเป็น ทหารรบพิเศษญี่ปุ่นชั้นยอด 

หมู่เกาะปะการังตาระวา ซึ่งมีเาะ เติอ มีขนาดเล็กประมาณ 300 เอเคอร์ อยู่ทางด้านตะวันตกสุดของหมู่เกาะ

source : https://patr.io/GcEI5

ส่วนอีกครึ่งเป็นแรงงานชาวเกาหลีและญี่ปุ่น เบติโอ ยังมีรถถัง 14 คัน ปืนใหญ่ 50 กระบอก และป้อมปืนน้อยใหญ่กว่า 100 ป้อม ซึ่งถือว่าหนาแน่นมากสำหรับเกาะเล็กขนาดนี้ นอกจากนี้ยังมีการขุดสนามเพลาะกันซับซ้อนภายในเกาะ และแนวชายฝั่งนั้นยังมีแนวป้องกันธรรมชาติอย่างปะการัง ซึ่งกันไม่ให้เรือยกพลขึ้นบกเข้ามาอีกด้วย! และยังมีแนวป้องกันจากลวดหนามและกับระเบิดมากมาย เรียกว่าทุกย่างก้าวที่ขึ้นมาบนเกาะ จะต้องได้รับการต่อต้านอย่างใหญ่หลวงแน่นอน 

ป้อมปืนใหญ่ของญี่ป่นที่ าระา

source : https://patr.io/lqK1z

สภาพของ ตาระวา ที่ส่วนใหญ่เป็นต้นมะพร้าวและเต็มไปด้วยสนามเพลาะ สิ่งกีดขวางต่างๆมากมาย

source : https://patr.io/fZxan

ส่วนฝ่ายอเมริกานั้นหน่วยที่รับผิดชอบการยกพลขึ้นบกคือ กองกำลังยกพลขึ้นบกที่ 5 ซึ่ง ประกอบด้วย กองพลนาวิกโยธินที่ 2 และกองเรือที่ 5 ของอเมริกา มีกำลังพล 35,000 นาย เป็นนาวิกโยธิน 18,000 นาย มีเรือน้อยใหญ่กว่า 40 ลำ มีทั้งเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือประจัญบาน เรือครุยเซอร์ ฯลฯ และเรือลำเลียงพล 18 ลำ กองเรือสหรัฐอมริกามาถึง ตระวา ในวันที่ 19 พฤศจิกายน โดยจะใช้ยุทธศาสตร์ยกพลขึ้นบกแบบใหม่ คือการระดมยิงถล่มหัวหาดด้วยปืนใหญ่เรือและเครื่องบินทิ้งระเบิดก่อนจะตามด้วย ยานเกราะลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกที่บรรจุทหารนาวิกโยธินได้ 20 นาย อเมริกาวางแผนโจมตีในวันที่ 20 พฤศจิกายน แต่ด้วยสภาพอากาศที่ย่ำแย่ท้องทะเลปั่นป่วนทำให้ทุกอย่างต้องเลื่อนไปหมด เครื่องบินไม่สามารถบินขึ้นได้ แถมเรอรบอมริกันแทนที่จะยิงปืนใหญ่ถล่มหาดตามคาด กับต้องแล่นหลบหลีกปืนใหญ่จากญี่ปุ่นบนฝั่งที่ยิงสวนกลับมา แน่นอนว่าปืนใหญ่ที่ตั้งบนบกมีความแม่นยำมากกว่า ปืนใหญ่เรือในสภาพที่ทะเลกำลังปั่นป่วน 

และในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 20 กระแสน้ำก็ลงต่ำเกินคาด ทำให้ยานเกราะลำเลียงพลส่วนใหญ่ติดปะการัง!! ไม่สามารถรุกเข้ามาถึงชายหาดได้ นาวิกโธิน ถูกบังับให้้องทิ้งยานเกราะแล้วลุยน้ำความสูงเท่าอกไปถึงชายฝั่งท่ามกลางระดมยิงอย่างหนักจากญี่ปุ่น!! ซึ่งกว่าจะไปถึงชายฝั่งพวกเขาก็หมดแรงแล้วและยังต้องเจอกับป้อมปืนแนวสนามเพลาะของญี่ปุ่นอีกในวันแรกการยกพลขึ้นบกด้วย นาวิกโยธิน 5,000 นาย กว่า 1,500 นาย บาดเจ็บและสูญเสียชีวิต วันที่ 21 พฤศจิกายน ทหารอเมริกันยังประสบปัญหาน้ำลงต่ำจนเป็นอุปสรรคต่อการยกพลขึ้นบก จนช่วงเที่ยง กระสน้ำหนุนสูงขึ้น เรือรบอเมริกันสามารถเข้าใกล้ฝั่งเพื่อยิงสนับสนุนระยะประชิดได้ กองหนุนระลอกใหม่ของอเมริกันมาพร้อมกับรถถังและอาวุธหนัก

การยกพลขึ้นบก ตาระวา เต็มไปด้วยความยากลำบาก

source : https://patr.io/hfZOI

ในช่วงวันที่ 2 ของการยุทธฝ่ายอเมริกันสามารถนำอาวุธหนักยกพลขึ้นบกมาได้ทำให้พวกเขาเริ่มได้เปรียบ

source : https://patr.io/6aAZj

การต่อสู้ดำเนินไปอีก 2 วัน โดยนาวิกโยธิน ทำลายป้อมปืนของญี่ปุ่นทีละป้อมด้วยระเบิดและปืนเพลิง ในวันสุดท้ายตอนกลางคืนวันที่ 22 พฤศจิกายน ญี่ปุ่นโจมตีแบบบันไซ เข้าชาร์จจากทุกทางดีกว่ายอมจำนนซึ่งทำให้พวกเขาสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในที่สุดวันที่ 23 พฤศจิกายน อเมริกันสามารถยึดเกาะเบติโอได้หมด โดยฝ่ายอเมริกันเสียชีวิตไป 1,000 นาย  บาดเจ็บ 2,000 นาย ฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิต 4,700 นาย หรือเกือบทั้งหมดของกำลังป้องกัน มีทหาร 17 นยเท่านั้นที่ดนจับเ็นเชลย และแรงงานชาวเกาหลีอีก 130 นายที่ยอมจำนน ตัวเลขความสูญเสียกว่า 3,000 นาย นั้นเป็นที่น่าตกใจของชาวอเมริกันส่วนใหญ่มากเพราะไม่นึกว่าเกาะเล็กๆแค่นี้ จะสูญเสียหนักถึงเพียงนี้ และได้กลายเป็นกรณีศึกษาให้กับการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกในยุคหลังๆ

เชลยที่ยมจำนน

source : https://patr.io/UjW8S