X

ปืนเข็ม ปืนที่พาโลกสู่สงครามยุคใหม่!

ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 กองทัพทั่วโลกยังคงใช้ปืนคาบศิลาที่ยังคงบรรจุทางปากกระบอกลำกล้องและยิงได้ทีละนัดซึ่งใช้เวลาหลายวินาทีในการบรรจุกระสุน รวมถึงยังใช้หินคาบศิลาในการจุดชนวนทำให้บางครั้งเาฝนตกแล้วปืนไม่สามารถใช้ได้ ซึ่งในยุคถัดๆมาก็มีการอัพเดตปืนคาบศิลาหรือปืนไรเฟิลให้สามารถยิงได้แม่นยำขึ้น และมีอานุภาพรุนแรงขึ้น แต่แล้วก็มีนักออกแบบชาวเยอรมันผู้หนึ่งชื่อ โยฮัน นิโคลัส ฟอน ดายเซอร์ (Johann Nikolaus von Dreyse) ซึ่งได้เริ่มออกแบบปืนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช่หินคาบศิลาในการจุดชนวน โดยมันเป็นปืนที่บรรจุจากท้ายกระบอกแทท่จะเป็นจากปากกระบอกไม่เหมือน ปืนคาบศิลา ส่วนใหญ่ในยุคนั้น กลไกของมันคือจะใช้เข็มแทงชนวนซึ่งอยู่ภายในปืนแทงเข้าไปที่กระสุนที่บรรจุเข้าไป หลังจากนั้นก็ใช้ระบบลูกเลื่อน (Bolt – Action) ทำการคัดปลอกกระสุนที่ยิงแล้วออก ซึ่งถือว่าเป็นปืนแรกที่ทำได้แบบนี้ 

โยฮัน นิโคลั ฟอน ดายเซอร์ ผู้ออกแบบปืนเข็ม

source : https://patr.io/E6aUN

 

ปืนนี้จึงมักจะถูกเรียกว่า ปืนเข็ม เพราะมันใช้ระบบเข็มแทงชนวน ไม่ก็ ปืนเข็มดายเซอร์ ตามคนที่ออกแบบมัน ซึ่งจะขอเรียกว่า ปืนเข็ม กว่าปืนรุ่นนี้จะได้ยอมรับไปใช้ในกองทัพปรัสเซียก็ช่วง ค.ศ.1841 ซึ่งถือเป็นรัฐที่มีความเข้มแข็งทางกรทหาเป็นอย่างมากใน สมาพันธรัฐเยอรมัน ตามสเปคของปืนแล้วมันสามารถยิงกระสุนออกไปได้ 5 – 6 นัดต่อนาที ซึ่งถือว่าเร็วกว่าปืนคาบศิลาหรือระบบแก๊ป หลายเท่าเลยทีเดียว แต่ในช่วงนั้นสถานการณ์การเมืองของยุโรปยังคงสงบ ปืนเข็ม เลยยังไม่ได้โชว์ศักยภาพอะไรของมันมากนัก จนกระทั่งมีการลุกฮือของผู้ชุมนุมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1849 ซึ่งมันก็ได้แสดงให้เห็นว่ามีอำนาจการยิงเป็นอยางมาก มันยิงได้อย่างรวดเร็วและปราบผู้ชุมนุมอย่างสยดสยอง พระเจ้าเฟรเดอริก วิลเฮล์มที่ 4 (Frederick William IV) เริ่มประทับใจในปืนเข็ม และไม่นานก็สั่งให้ โละ ปืนคาบศิลาทั้งหมดทิ้ง ซึ่งก็ใช้เวลาถึง ค.ศ.1859 กว่าปืนคาบศิลาจะหมดไปจากกองทัพ

ปืนเขมรุ่น 1841

source : https://patr.io/Clmha

 

ระยะยิงหวังผลของมันอยู่ที่ 600 เมตร และยิงไกลสุดราวๆ 1,000 เมตร ทหารที่ได้รับการฝึกมาดีจะสามารถยิงกระสุนได้มากถึง 10 – 12 ต่อนาที ความยาวตลอดปืน 142 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.7 กิโลกรัม กระสุนของปืนเข็มจะถูกห่อด้วยกระดาษและมีแก๊ปอยู่ซึ่งช่วยให้ปืนยิงแม่นขึ้น แต่ข้อเสีของปืนเข็มก็มีนั้นคือตรงส่วนเข็มที่เป็นปัจจัยหลักในการจุดระเบิดดินปืนนั้นเสียหายได้ง่าย ทำให้บางครั้งยิงไปยิงมามันอาจจะระเบิดคามือทหาร ทั้งยังทำให้พิสัยการยิงลดลง และยังมีวิถีการยิงที่สูงทำให้ยากแก่การยิงให้ถูก

ในช่วง 1860’s การเมืองในเยอรมันเริ่มผนผวนหนักละปรัสเซียต้องการผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจเหนือเยอรมันภายใต้นโยบายเหล็กและเลือดของบิสมาร์ค แน่นอนว่ากองทัพที่เข้มแข็งย่อมต้องการอาวุธที่มีประสิทธิภาพ ในตอนนั้น พระเจ้าเฟรเดอริก วิลเฮล์มที่ 4 ก็ชักไม่มั่นใจแล้วว่า ปืนเข็ม นั้นจะมีประสิทธิภาพดีพอหรือไม่ จนกระทั่ง สงครามชเลจวิชครั้งที่ 2 (Second Schleswig War) อันเป็น สงครามระหว่างเดนมาร์กกับปรัสเซีย เพื่อแย่งชิงแคว้น ชเลจวิช – โฮลสไตน์ (Schleswig-Holstein) อันเป็นแคว้นที่อยู่ใต้การปกครองของเดนมาร์กแต่มีชาวเยอรมันอยู่เยอะทำให้เป็นข้อพิพาทและเกิดสงครามกัน ซึ่งนอกจากเดนมาร์กจะเป็นรองกว่าทุกอย่างแล้ว เดนมาร์ก ยังใช้ปืนไรเฟิลมินิเอ ที่บรรจุทางปากกระบอก ในขณะที่ รัสเซียใช้ปืนเข็มที่มีอำนาจการยิงสูงกว่า ทำให้ปรัสเซียชนะสงครามครั้งนี้และเข้าครอบครองแคว้น ชเลจวิช ในที่สุด

สงครามชเลจวิชครั้งที่ 2

source : https://patr.io/R6mzh

 

ใน ค.ศ.1866 คราวนี้ปรัสเซียด้ทำสงครามกับออสเตรียซึ่งเป็นจักรวรรดิใหญ่ใน สมาพันธรัฐเยอรมัน และมีพลังอำนาจทางการทหารพอๆหรืออาจจะมากกว่าปรัสเซียเสียด้วยซ้ำ แต่ด้วยหลักการรบแบบใหม่ของปรัสเซีย รวมถึง ปืนเข็มของปรัสเซีย ซึ่งได้แสดงศักยภาพที่เหนือกว่าปืนไรเฟิลบรรจุทางปากประบอกของออสเตรีย ทหารราบออสเตรียเดินแถวมาถูกล้มยิงตายระเนระนาดในไม่กี่อึดใจด้วยปืนเข็ม รวมถึงมันยงสามารถหยุดั้งทหารม้าออสเตรียได้อีกด้วย ปืนเข็มนั้นอนุญาตให้ทหารราบปรัสเซียดำเนินกลยุทธแบบใหม่นั้นคือการกระจายกำลังขนาดหมวด และเข้าโจมตีล้อมกรอบข้าศึกจากทุกด้านด้วยอำนาจการยิง เพราะถึงแม้จะกระจายกำลังแต่อำนาจการยิงจากปืนเข็ม นั้นก็เทียบเท่ากับทหารราบที่รบเป็นแถว 

สงครามออสโตร – ปรัสเซีย 

source : https://patr.io/ZP5ix

 

แต่เมื่อพวกเขาต้องเจอกับกองทัพฝรั่งเศสในสงครามฟรังโก – ปรัสเซีย พวกเขาก็ต้องพบว่า ปืนชาสพ็อต (Chassepôt) ของฝรั่งเศส ซึ่งมีระบบกลไกลูกเลื่อนเหมือนกัน รวมถึงยังมีความแม่นยำมากกว่า ซึ่งปืนเข็มนั้นด้อยกว่าอย่างชัดเจน แต่โชคยงดีที่หลักการบของฝรั่งเศสยังคงเน้นการรบเป็นขบวนแบบใหญ่ๆเหมือนยุคนโปเลียน และปรัสเซียยังมีปืนใหญ่ รวมถึงระบบการจัดทัพที่ดีกว่าฝรั่งเศสทำให้สามารถเอาชนะสงครามมาได้ ไม่นานนักปืนเข็มก็เริ่มล้าสมัยและเมื่อเยอรมันรวมชาติเป็นจักรวรรดิได้สำเร็จ ปืนเข็ม เริ่มถูกแทนที่ด้วย ปืนเมาเซอร์ และยังคงเหลือเป็นอาวุธสำหรับกองหนุน จนกระทั่ง ค.ศ.1876 ปืนเข็มถูกปลดจากกองัพทั้งหมด ซึ่งถงแม้ว่าปืนเข็มจะถูกแทนที่ด้วยปืนรุ่นใหม่กว่า แต่มันก็เป็นข้อพิสูจน์ชัดเจนว่า ปืนใช้เข็มแทงชนวนเป็นอาวุธนั้นเริ่มเอาชนะปืนที่ใช้ระบบคาบศิลาได้ และทำให้สงครามแบบใหม่ที่การตั้งแถวยิงกันเริ่มเสื่อมความนิยมจนมาสูญพันธ์เอาจริงๆในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 

ระบลูกเลื่อนของปืนเข็ม

source : https://patr.io/tsUBz