X

ประวัติศาสตร์นาวิกโยธินไทย

ตั้งแต่สมัยก่อนมาแล้วชาติยุโรปได้ก่อตั้งหน่วยทหารที่เรียกว่า “นาวิกโยธิน” ขึ้นมา ซึ่งแต่ละประเทศอาจจะมีการเรียกมันแตกต่างไปตามภาษาของตัวเอง แต่บทบาทของพวกเขาเหล่านี้ล้วนคล้ายกันหมดนั้นคือ ทหาี่อยู่ประจำเรือรบ เป็นหน่วยต่อสู้ในขณะเข้ายึดหรือโจมตีเรือลำอื่น เพราะการรบด้วยเรือในสมัยนั้นยังนิยมการยึดเรือข้าศึกกลับไปเป็นรางวัล รวมถึงการยกพลขึ้นบกในดินแดนข้าศึก เพื่อเข้ายึดครองดินแดนดังกล่าวหรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม ในห้วงเวลานั้นอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ยังไม่มีการแบ่งแยกทัพบก กับ ทัพเรือ ออกจากกันอย่างชัดเจนด้วยซ้ำ

นาวิกโยธินอังกฤษในช่วงสงครามนโปเลียน พวกเขาคือหน่วยต่อสู้บนเรือรบ

source : https://patr.io/OAegs

 

จนกระทั่งถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 จึงได้มีการตั้ง “กรมอรสุมพล” หรือที่เรยกทับศัพท์มาเลยว่า “ทหารมะรีน” ในห้วงแรกทหารมะรีน เป็นทหารกองเกียรติยศที่ตามเสด็จรัชกาลที่ 3 เมื่อประพาสทางน้ำ และต่อมาได้มีการให้ทหารมะรีนเหล่านี้กระจายลงตามเรือรบหลวงต่างๆ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทหารมะรีน ได้ทำหน้าที่เป็น ฝีพายเรือหลวงพระที่นั่ง รวมถึงคุ้มกันโรงเรือหลวง ต่อมาไม่นาน ทหารมะรีน ได้ขึ้นตรงกับ กรมทหารบก และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารราบที่ 3 

พอมาถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้มีการแยกกองทัพบกออกจากกองทัพเรือชัดเจน ซึ่งกรมทหารราบที่ 3 หรือทหารมะรีน ได้ไปขึ้นตรงกับ สมุหพระกลาโหม ที่ดูแลทัพเรือ และได้เรียกพวกเขาว่า ทหารกรมแสง ก่อนหน้านี้ พวกเขามักแค่เป็นทหารสำหรับพระราชพิธี แต่มาสมัยรัชกาลที่ 5 ขีดความสามารถในการรบของพวกเขาก็เพิ่มข้น เน่องจาก ภัยจากตะวันตกที่มารุกราน ได้มีการติดอาวุธชนิดใหม่ เช่นปืนกลแกตลิ่ง (Gatling Gun) ปืนเมาเซอร์ ให้กับกรมทหารแสง และได้ขยาย กรมทหารแสงเพิ่มเป็น 4 กอง จึงทำให้พวกเขามักถูกเรียกว่าเป็น ทหารนาวิกโยธินสมัยใหม่หน่วยแรกของไทย ทหารมะรีนได้มีบทบาทในการปราบกบฏฮ่อ และประจำการป้อมปราการตามชายฝั่ง ได้มีการตั้งโรงเรียนนายสิบมะรีน 

ทหารมะรีนในช่วงการปราบกบฏฮ่อ

source : https://patr.io/6gAOW

 

มาถึงสมัยรัชกาลที่ 6  กระทรวงทหารเรือได้ตราข้อบังคับว่าด้วย “การจำแนกพรรคเหล่าจำพวกและประเภททหารเรือ” เป็น 3 พรรคเห่าดังนี นั้นคือ นาวิน , กลิน และ นาวิกโยธิน คำว่า นาวิกโยธิน ปรากฏครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เอง และยังได้แยก ทหารนาวิกโยธินเป็น 2 พรรคใหญ่อีกที คือ เหล่าทหารราบและทหารปืนใหญ่ป้อมปราการ พอมาถึงยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ได้มีการเปลี่ยนการจัดกำลัง ทหารนาวิกโยธิน ขนานใหญ่โดยเลียนแบบจากกองพันทหรบก และไดมีการแบ่งทหารนาวิกโยธินเป็น 3 เหล่านั้นคือ ทหารราบ ทหารปืนใหญ่ และ ทหารพาหนะ 2 ปีต่อมากองพันทหารนาวิกโยธินได้เพิ่มขีดความสามารถให้มากกว่าทหารบก ประกอบด้วย 4 กองร้อยปืนเล็กยาว 1 กองร้อยปืนกลหนัก 1 กองร้อยปืนใหญ่ และได้ทำการขยายกำลังจนมีกำลัง 2 กองพันในเวลาต่อมา โดยกองพันนาวิกโยธินที่ 1 อยู่ที่ กรุงเทพฯ ส่วนกองพันที่ 2 อยู่ที่ สัตหีบ 

ต่อมาย้ากองพันที่ 1 มาอยู่ที่สัตหีบด้วย และได้มีการตั้ง กรมทหารนาวิกโยธิน ขึ้นมา ประกอบด้วย 2 กองพันนาวิกโยธิน รวมถึงส่วนสนับสนุนอื่นๆเช่น กองร้อยทหารปืนใหญ่ กองร้อยทหารช่าง กองร้อยลาดตระเวน พอเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น ได้มีการสถาปนา “กองพลนาวิกโยธิน” เฉพาะกิจซึ่งได้มีการรวมกำลังกับ กองทัพบก นั้นคือ กองพลทหารม้าที่ 4 รวมๆแล้วเรียกเป็น กองพลจันทบุรี แลได้เข้าปะทกับฝรั่งเศส ที่บ้านโป่งสลา ด้วย ใน พ.ศ.2485 ได้มีการจัดกำลัง กรมทหารนาวิกโยธินใหม่ ให้ตามยุคสมัย โดยเพิ่ม 1 กองพันต่อสู้รถถัง 1 กองร้อยปืนครก และเพิ่ม กองร้อยทหารช่าง , ทหารสื่อสาร , และได้มีการตั้งกองพันทหารปืนใหญ่นาวิกโยธินขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า กองพันทหารนาวิกโยธินที่ 4 ต่อมาได้มีการตั้ง กองพันนาวิกโยธินที่ 3 และ 4 ขึ้น กองพันปืนใหญ่เลยเปลี่ยนชื่อเป็น กองันทหารนาวิกโยธินที่ 11 

source : https://patr.io/YKtD8

 

กองทหารนาวิกโยธินได้ร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทำหน้าที่ตรวจตราชายฝั่ง ควบคุมการสัญจรของเรือ แต่พอสงครามโลกครั้งที่ 2 จบ ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ ทหารนาวิโยธินไทยก็ทำหน้าที่ปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วง พ.ศ.2488 กรมนาวิกโยธินมีการจัดกำลังดังนี้ 

– กองพันนาวิกโยธินที่ 1 ตั้งอยู่ที่สัตหีบ
– กองพันนาวิกโยธินที่ 2 ตั้งอยู่ที่สัตหีบ
– กองพันนาวิกโยธินที่ 3 ตั้งอยู่ที่จันทบุรี
– กองพันนาวิกโยธินที่ 4 ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ
– กองพันนาวิกโยธินที่ 5 ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ
– กองพันนาวิกโยธินที่ 11 ตั้งอยู่ที่สัตหีบ
– กองต่อสู้รถถัง ตั้งอยู่ที่สัตหีบ
– กองทหรช่าง ตั้งอยู่ที่สัตหีบ
– กองทหารสื่อสาร ตั้งอยู่ที่สัตหีบ
– กองลาดตระเวน ตั้งอยู่ที่สัตหีบ 

 

แต่พอหลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ซึ่งทหารเรือได้ไปมีส่วนในการกบฏเพื่อล้มล้างอำนาจ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม แต่ล้มเหลวทำให้ กองทัพเรือโดนลดำนาจลงมาก และกรมทหารนาวิกโยธินก็ถูกยุบ แต่ด้วยความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ เลยมีการตั้ง “กองป้องกันท่าเรือสัตหีบ” โดยมีกำลังเพียง 1 กองพัน เท่านั้น ใน พ.ศ.2498 รัฐบาลไทยได้ก่อตั้ง กรมทหารนาวิกโยธิน ขึ้นมาอีกครั้งโดยมีแนวทางตาม นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ทำให้ นาวิกโยธิน มีขีดความสามารถในการยกพลขึ้นบกได้ และ เหล่าทหารนาวิกโยธินได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันหารนาวิกโยธิน เพราะเป็นวันที่รัฐบาลอนุมัติให้ สถาปนาทหารนาวิกโยธินขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จวบจนทุกวันนี้ ทหารนาวิกโยธิน ก็ยังคงเป็นหน่วยรบที่มีประสิทธิภาพและน่าเกรงขามของไทยอีกหน่วย 

source : https://patr.io/LcECv