X

ต้นกำเนิดทหารขนส่ง

“กองทัพจะไร้น้ำยาทันทีหากไม่มีการส่งกำลังบำรุงที่ดี จักรวรรดิจะไม่ได้รับชัยชนะเลยหากขาดเหล่าขนส่งที่มีความกล้าหาญ เสียสละ พวกเขาต้องเผชิญความยากลำบากหลายครั้งกว่าจะได้ชัยชนะ” 

นี้คือคำกล่าวของจักรพรรดินโปเลียน ผู้นำของฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ ท่านได้สรรสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะ ประมวลกฎหมายแพ่ง แนวคิดชาตินิยมที่ทำให้ประเทศต่างๆเป็นรูปเป็นร่างเช่นทุกวันนี้ และในแง่การทหาร ท่านได้ทำการวิวัฒทั้งแนวคิดกลยุทธ์การศึก การจัดระบบกองทัพหลายอย่างที่กลายเป็นพื้นฐานของกองทัพในปัจจุบัน รวมถึงการขนส่งทางทหาร หรอ ที่เรียกกันว่า ทหารเหล่าขนส่ง สำหรับคำว่า ทหารขนส่งในปัจจุบันนั้นคือ เหล่าทหารที่ทำการสนับสนุนการรบด้วยการขนส่งยุทธปัจจัยต่างๆเช่นเสบียง อาวุธ หยูกยา หรือ ลำเลียงกำลังพลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว และนี้คือสิ่งที่นโปเลียนได้ริเริ่มขึ้น เขาได้สร้างทหารเขาได้ทำการสร้างเหล่า ขนส่ง ขึ้นมา ไว้สำหรับการขนส่งทั้งเสบียง กำลังพล และยุทธปัจจัยต่งๆดยเฉพาะไม่ต้องง้อพลเรือนอีกต่อไป

จักรพรรดินโปเลียน

source : https://patr.io/kLJZi

 ซึ่งในช่วงแรกกองทัพของยุโรปยังว่าจ้างพลเรือนมาทำหน้าที่ในการขับเกวียนขนยุทธปัจจัยต่างๆ แต่พวกนี้ไม่มีระเบียบ และอาจจหนีทพได้หากถูกโจมตี นโปเลียนได้เริ่มก่อตั้ง ทหารขนส่งปืนใหญ่ ใน ค.ศ.1800 โดยตอนแรกมีจำนวน 8 กองพัน กองพันละ 5 กองร้อย กองร้อยละ 60 นาย โดยเป็นนายทหาร 2 นาย และจ่าอีก 7 นาย โดยทหารปืนใหญ่ 1 กองพัน จะได้รับทหารขนส่งปืนใหญ่ 1 กองร้อย 

ช่วง ค.ศ.1805 ขยายกำลังเพิ่มอีกเป็น 10 กองพัน และแต่ละกองร้อยมีกำลังพลราวๆ 80 – 84 นาย อัตรากำลังพลมีขึ้นๆลงๆตลอดสงครามบางครั้งก็นำเชลหรือทหารต่างชาติมาทำหน้าที่เป็น ทหารขนส่ง 

ทหารขนส่งปืนใหญ่

source : https://patr.io/GLq9W

ต่อมาคือทหารขนส่งช่าง มีหน้าที่ขับเกวียนซึ่งมีอุปกรณ์ทางการช่างหน่วยนี้ถูกตั้ง ในปี ค.ศ.1806 จำนว 7 กองร้ย

และในช่วงการทัพโปแลนด์ในฤดูหนาวต้นปี ค.ศ.1807 ตอนแรกกองทัพนโปเลียนยังว่าจ้างบริษัทพลเรือนในการขนส่งเสบียงกรัง เรียกได้ว่า เป็นภาวะคับขันแรกที่ กองทัพอันเกรียงไกร ของนโปเลียนต้องประสบกับสภาวะลำบาก กองทัพของนโปเลียน ต้องเร่งเคลื่อนทัพดัก กองทัพรัสเซียที่เล็กกว่าแต่ก็หนีรอดไปได้ทุกครั้ง ฤดูหนาวอันทารุณทำให้การหาเสบียงเอาดาหน้าหรือ Live Off land ใช่ไม่ได้ผล ทหารจำนวนมากต้องกระจายกันหาเสบียงในพื้นที่กว้างระเบียบวินัยกองทัพฝรั่งเศสต่ำลงอย่างน่าใจหาย

การทัพในโปแลนด์ช่วง ค.ศ.1806 – 1807

source : https://patr.io/nPR1L

ถนนของโปแลนด์นั้นยังกันดารและแปรสภาพกลายเป็นตมทำให้การเคลื่อนทัพอย่างรวดเร็วเป็นไปไม่ได้เลย การลาดตระเวนก็ย่ำแย่เนื่องจากหิมะบดบังทัศนวิสัยน์ตลอดเวลา กองทัพของนโปเลียนคือกองทัพที่ทำสงครามติดต่อกันยาวนานนับแต่กลางปี 1806 และไม่มีกองหนุนมาเพิ่มเติมบัดนี้ กองทัพของเขาอยู่ในสภาพหมดแรงเต็มที่ และได้แต่ต้องรอในโปแลนด์เพื่อเตียมทำสงคราใหม่ในฤดูใบไม้ผลิ 

จึงกล่าวได้ว่า ฤดูหนาวในโปแลนด์ เป็นบททดสอบแรกที่ทำให้พิสูจน์ได้ว่าระบบของกองทัพนโปเลียนนั้นไม่ใช่ระบบที่สมบูรณ์แบบเสมอไป กองทัพของนโปเลียนนั้นขาดแคลนเสบียงและไม่สามารถหาเสบียงในท้องที่ได้ การทัพในครั้งนั้นจึงประสบความสำเร็จอย่างที่เขาคาด นโปเลียนตั้งใจจะสร้าง ทหารขนส่งเสบียง โดยมีชื่อเรียกเป็นาษาฝรั่งเศสว่า “Train des Equipages Militaires” ซึ่งกองทัพเป็นคนดูแลเอง ในตอนแรกมันเป็นหน่วยระดับกองพันโดยมีเพียง 6 กองร้อยเท่านั้น เพราะนโปเลียนต้องการทดสอบประสิทธิภาพของหน่วยนี้ดูก่อนว่าได้ผลเพียงใด นโปเลียนตั้งใจให้พวกเขาสามารถรับมือกับกลุ่มทหารขนาดเล็กที่ซุ่มโจมตีพวกเขาได้และยังสามารถตั้งแนวป้องกันโดยใช้เกวียนได้หากเจอกำลังที่เหนือกว่า เพื่อไม่ให้เขาละทิ้งเกวีนเสบียงหนีไปเมือนพลเรือน โดยพวกเขาได้รับการติดอาวุธเป็นกระบี่สั้นกับปืนคาร์ไบน์

ซึ่งผลปรากฎว่าพวกเขาก็ทำผลงานได้ดีมากจึงได้มีการขยายกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ ทหารขนส่งเสบียง ขึ้นมา 8 กองพัน กองพันละ 4 กองร้อย ในแต่ละกองร้อยมี เกวียน 32 เล่ม ทหาร 64 นาย และม้า 128 ตัว ต่อมาขยายอีกเป็น 16 กองพัน กองพันละ 6 กองร้อย ซึ่งพวกมีหน้าที่ขนยุทธปัจจัยต่างๆทั้ง เสบียงกรัง หญาสำหรับม้า รวมถึงเบี้ยหวัด หรือ จดหมายอีกด้วย โดยแต่ละกองพลจะได้ทหารขนส่งประจำการ 1 กองร้อย

ในการบุกรัสเซียปี ค.ศ.1812 ทหารขนส่งเสบียงได้ขนส่งขนมปังพอสำหรับทหาร 300,000 นาย เป็นเวลา 2 เดือน แต่หลังจากหายนะที่รัสเซียทหารขนส่งเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก 

ถึงแม้นโปเลียนจะพ่ายแพ้สงครามในที่สุดแต่อิทธิพลทางทหารของนโปเลียนยังคงส่ง่อมาถึงยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการจัดกำลังทางทหาร แนวคิดในการทำสงคราม รวมถึงหน่วยของทหารที่เขาตั้งขึ้นมาก็ยังคงมีหน่วยทหารหลายหน่วยในปัจจุบันที่ได้ต้นแบบหน่วยทหารในสมัยนโปเลียนมา 

ทหารขนส่งเสบียง

source : https://patr.io/nPR1L