สงครามโลกครั้งที่ 1 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลกในหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่การทำสงคราม การรบกันเป็นรูปขบวนขนาดใหญ่ การใช้กองกำลังทหารม้าจำนวนมากเข้าชาร์จแบบในยุคนโปเลียนหายไปอย่างสิ้นเชิงในสงครามครั้งนี การรบกระจายกำลังเป็นหมู่เล็กๆเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งต่อมาพวกเขาเหล่านี้ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “หน่วยรบพิเศษ” และเนื่องด้วยอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างมากขึ้นทำให้ยุทธวิธีการรบหลายอย่างต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในแนวรบตะวันตกด้านเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นที่ขับเคี่ยวระหว่าง กองทัพอิตาลี และ กองทัพออสเตรีย – ฮังการี ภูมิประเทศส่วนใหญ่นั้นเป็นูเขาทำให้การเคลื่อนกำลังขนาดใหญ่เป็นเรื่องลำบาก สมรภูมิการรบที่นี่เหมือนเป็นที่ปิดตาย ที่ต่างฝ่ายก็ยากที่จะฝ่าแนวรบอีกฝ่ายไปได้
การรบในแถบเทือกเขาแอลป์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการเคลื่อนกำลงพลและการขนย้ายยุทธปัจจัย
ที่มา – https://i.pinimg.com/originals/93/35/44/93354487d1bf05d7670853396ac02d3d.jpg
ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ.1915 ฝ่ายอิตาลีได้มีการริเริ่มทำสงครามโดยใช้กองกำลังขนาดเล็ก โดยให้นายทหารนำหน่วยทหารอาสาขนาดเล็กแอบเล็ดลอดไปหลังแนวรบข้าศึกเพื่อก่อวินาศกรรม หรือ แอบไปตัดลวดเคลียร์เส้นทางให้กองกำลังใหญ่รุกผ่านไป ในตอนแรกพวกนี้จะถูกเรียกว่า “Esploratori Arditi” หรืนักสำรวจผู้กล้า บางคนตั้งชื่อเล่นๆให้ทหารผู้กล้าเหล่านี้ “กองร้อยแห่งความตาย” เพราะอัตราการเสียชีวิตของพวกเขาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว!! ต่อไปนี้จะขอเรียกพวกเขาว่า อาร์ดีตี เพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน เหล่า อาร์ดีตี มักจะแอบลอบเข้าโจมตีสนามเพลาะฝ่ายตรงข้ามด้วยอาวุธเช่น มีด และ ระเบิดมือ!! พวกเขายังสวมเกราะเพื่อป้องกันตัว รวมถึงมีคีบตัดลวดไว้เคลียร์เส้นทางด้วย อาร์ดีตี ได้ถูกสถาปนาเป็นชื่อหน่วยทางการภายใต้การนำของ ผู้กอง คริสโตโฟเรอร์ เบซีโจ้ (Capt. Cristoforo Baseggio) ในช่วงตุลาคม ค.ศ.1915
ไม่นานนัก แนวทาง อาร์ดีตี ก็ถูกแพร่กระจายไปทั่วกองทัพจากเดิมที่เป็นกำลังอาสาหน่วยเล็กๆ กลายเป็นว่าทุก 1 กรมทหารราบธรรมจะต้องมี ทหารอาร์ดิตี 1 กองพัน และทุกกองร้อยของทหารราบจะต้องมี อาร์ดิตี 1 หมวด โดยกองพันอาร์ดิตี จะมีขนาดเล็กกว่า กองพันทารราบปกติ แต่ติดอาวุธที่หนักกว่า 1 กองร้อย อาร์ดิตี จะมี ทหาร 150 นาย ทหารประทวน 41 นาย และ นายทหาร 5 นาย ปืนกลหนัก M1914 2 กระบอก ปืนกลกึ่งพกพา “villar perosa” 14 กระบอก หมวดปืนพ่นไฟ ปืนใหญ่ภูเขา และ ปืนครก ทหารแต่ละนายจะพกปืนคาไบน์ ระเบิดมืออีกหลายลูก รวมถึงมีดพก ซึ่งถือว่าสำคัญมากเพราะเป็นสัญลักษณ์ ของอาร์ดิตี เลยทีเดียว เพราะพวกเขามักจะสู้ในระยะประชิด
อาร์ดิตีสวมเกราะไว้ป้องกันตัว
ที่มา – https://preview.redd.it/3jx6b61nz3061.jpg?width=640&crop=smart&auto=webp&s =9e117b6636f401c1a514760bd5dbb17472ad1be7
อาร์ดิตีช่ำชองในการต่อสู้ระยะประชิดด้วยมีด
ที่มา – https://www.historyanswers.co.uk/wp-content/uploads/2016/03/Screen-Shot-2016-03-08-at-12.05.33.png
อาร์ดิตีในช่วงแรกจะเป็นกองกำลังอาสาซึ่งดูแล้วมีร่างกายที่กำยำและจิตใจรุกรบ แต่ในช่วงหลังเริ่มขาดแคลนเริ่มมีการดึงตัวจากหน่วยอื่นของอิตาลีมาเป็น อาร์ดิต เช่น ทหารภูเขาหรือทหารราบเบาแห่งแอลป์ พวกเขาถูกฝึกในโรงเรียนสอนพิเศษที่สอนในการสู้ระยะประชิด หน้าที่ของ อาร์ดิตี ในการรบมักจะเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ในการรุกเข้ายึดที่มั่นของข้าศึกก่อนที่จะยันเอาไว้จนกว่า กองกำลังหลักจะมาหนุน มอตโต้ของ อาร์ดิตี นั้นคือ “O la vittoria, o tutti accoppati!” หรือ พวกเราจะต้องชนะไม่งั้นก็ตาย!! อาร์ดิตีนั้นมีเครื่องแบบของตัวเอง ซึ่งในท้าย สงคราม าร์ดิตี ได้มีการรวมตัวกันจัดเป็นกองกำลังขนาดใหญ่มากถึง 1 กองทัพน้อย ประกอบด้วย 2 กองพลอาร์ดิตี ประกอบด้วย 6 กองพัน อาร์ดิตี 4 กองพันทหารราบเบาแห่งแอลป์ กองพันทหารช่างจู่โจม กองพันปืนใหญ่ภูเขา ในการโจมตีแต่ละครั้งของ อาร์ดิตีประมาณว่าพวกเขาเสียชีวิตมากราว 25 – 30% เลยทีเดียว แต่พวกเขาก็ได้รับเงินเดือนมากกว่าทหารปกติ 3 เท่า แถมยังได้เงินพิเศษด้วยหากจับเชลยหรือยึดาวุธข้าศึกได้
ได้มีบันทึกการโจมตีอย่างห้าวหาญในช่วง ค.ศ.1916 ผู้กอง เบซีโจ้ พาอาร์ดีตี 200 นาย เข้าโจมตีที่มั่นของข้าศึก 2 แห่งที่เนินเขา เซนต์ ออสวัลโด (Saint Osvaldo) ที่มั่นแรกสูงจากพื้น 1,100 เมตร ส่วนอีกที่สูง 1,400 เมตร แถมในช่วงนั้นยังเป็นฤดูหนาวทำให้มีหิมะตก อาร์ดิตี หลายนายร่วงตกจากเขาก่อนถึงที่หมาย พวกเขาต้องลากปืนใหญ่ภูเขาขึ้นไปบนภูเขาเพื่อยิงสนับสนุนด้วย พอมาถงที่หมายพวกเขาได้ขุดสนามเพลาะและตัดต้นไม้ทำแนวป้องกัน เมื่อการโจมตีเริ่มขึ้นปืนใหญ่ยิงสนับสนุนและเคลียร์ทางให้ อาร์ดิตี พวกเขารุกเข้าหาที่มั่นฝ่าย ออสเตรีย – ฮังการี และรบระยะประชิดอย่างรวดเร็ว พวกออสเตรีย – ฮังการี ถอยไปยังแนวป้องกันที่ 2 ที่อยู่สูงกว่า และได้ยิงกดเหล่า อาร์ดิตี จากที่สูงข่ม อย่างไรก็ตาม อาร์ดิตี ได้พยายามโจมตีที่มั่นออสเตรีย – ฮังการีถึง 3 ครั้งกว่าจะยึดแนวป้องกันที่ 2 ได้!! เมื่อสิ้นสุดการรบในวันนั้น อาร์ดิตีจาก 200 นาย เหลือรอดเพียง 50 นายเท่านั้น!!
โรงเรียนฝึก อาร์ดิตี ที่ฝึกให้ใช้มีดและระเบิดมือ
ที่มา – https://www.wearethemighty.com/app/uploads/legacy/assets.rbl.ms/17308646/origin.png
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง อาร์ดีตี ได้กลายเป็น 1 ในสัญลักษณ์ของความกล้าหาญของชาติและความภาคภูมิใจของกองทัพอิตาลี แต่กระแสการเมืองในอิตาลีก็กำลังผันผวน อาร์ดิตีส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมพรรค “ANAI” ซึ่งค่อนข้างเอนเอียงทางสังคมนิยม แต่อาร์ดิตี บางส่วนก็ไปเข้ากับพวก ฟาสซิสต์ เมื่อ มุสโสลินี ได้คุมอำนาจในช่วง ค.ศ.1920 เขาก็สั่งยุบหน่วย อาร์ดิตี ซึ่งในช่วงหลังดูหมือนจะมีอำนาจทางการเมืองมากเกินไป เป็นอันปิดตำนานหน่วยรบผู้กล้าไป แต่อย่างไรก็ตาม อาร์ดิตี กลายเป็นแรงบันดาลใจให้หน่วยรบพิเศษของอิตาลีและทั่วโลกในยุคหลัง
ที่มา – https://i.pinimg.com/originals/57/84/86/57848661aecdfc4c52c38e3a8233bf42.jpg