ในกองทัพหรือหน่วยงานทหารนั้น มักจะมีธรรมเนียมที่จะต้อปิตามๆกัน โดยในแต่ละที่ก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะเป็นการถ่ายทอดจากผู้บังคับบัญชา สู่กำลังพล จากรุ่นพี่ไปสู่รุ่นน้อง จากเพื่อนสู่เพื่อนมาอย่างยาวนาน จนบางทีก็หาสาเหตุของการเกิดธรรมเนียมปฏิบัติที่แท้จริงไม่เจอแล้ว ว่าทำไมจึงต้องทำตามๆกันมา
และในบรรดาธรรมเนียมทั้งหมด การใส่นาฬิกาบนข้อมือขวาของทหารม้า เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ถูกสงสัยกันมานาน หลายท่านอาจจะได้ยินคำตอบมาแล้วบ้าง แต่คุณรู้ไหมว่าเรื่องราวไหนเป็นความจริงกันแน่
เราเริ่มค้นหาความจริงด้วยการสอบถามกับกำลังพลในหน่วยทหารม้า ไปจนถงผู้ัชกระดับสูง ซึ่งก็ได้คำตอบออกมาในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
ขึ้นชื่อว่าทหารม้าจึงต้องอำนวยความสะดวกในขณะขี่ม้า เนื่องจากต้องใช้มือถือบังเหียนและแส้ด้วยมือซ้ายขณะขี่ม้า จึงทำให้การดูนาฬิกาที่มือข้างขวาสะดวกกว่า
เพื่อความสะดวกเวลาติดเครื่องยนต์รถถัง จะต้องใช้มือซ้ายกดปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ จึงใส่นาฬิกาที่มือขวาเพื่อดูเวลาในขณะที่ติดเครื่องยนต์
หรือ มีต้นเหตุมาจากเมื่อก่อน นายทหารม้ามักจะมีงานเลี้ยงสังสรรค์บ่อยครั้ง และมักจะถือแก้วข้างขวาด้านที่ถนัด หากใส่นาฬิกาที่ข้อมือขวาด้วย ตอนยกแก้วจะได้เนียนๆดูนาฬิกาไปด้วยว่าถึงเวลากลับหรือยัง จะได้ดูไม่เสียมารยาท
จากเรื่องราวข้างต้น พบว่าในแต่ละเรื่องต่างมีเหตุมีผลรองรับทั้งสิ้น และมีความเป็นไปได้ทั้งหมด แล้วจะมีใครที่สามารถอธิบายข้อสงสัยนี้ได้
เรื่องนี้จึงต้องรบกวนสอบถามกับบุคคลซึ่งทหารม้าเรียกท่านว่า “ป๋า” หรือ ฯพณฯท่าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งท่านได้กรุณาบอกเลาใ้เาฟง ดงนี้
“ในเรื่องการใส่นาฬิกาข้อมือขวาจะพูดว่าเป็นเราก็ไม่ผิด หรือ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ไม่ผิด ในตอนนั้นก็มีสองคนที่ใส่นาฬิกาข้อมือขวา เราใส่นาฬกาข้อมือขวาต้งแ่เปนนาทหาเด็กๆ (สมัย ร้อยเอก) สาเหตุคือ สมัยเป็นผู้บังคับกองร้อยรถถัง แบบ 77 เนื่องจากคันบังคับเลี้ยวอยู่ในช่องเล็กๆ ต้องยื่นมือซ้ายเข้าไป ทำให้นาฬิกาติดช่องนั้นอยู่เสมอ จึงเปลี่ยนมาใส่ข้างขวา”
“ตอนนั้นใรจะใ่นาฬกาข้มือขาหรือข้อมือซ้ายตามแต่ใครจะชอบ แต่ในสมัยนั้นกำลังพลไม่ค่อยจะมีใครใส่นาฬิกากันสักเท่าไหร่ เพราะมีราคาแพง ครั้นสมัยเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า จึงให้กำลังพลใส่นาฬิกาข้อมือขวาและใส่เดือยโลหะ อาจกล่าวได้ว่าการใส่นาฬิกาข้อมือขวาของทหารม้าน่าจะเริ่มเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ตอนนั้น จริงๆแล้วทหารม้าทุกนายควรใส่เดือยโลหะ้วย นายสิบก็ใส่ด้”
แท้จริงแล้วธรรมเนียมนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อสมัยที่ ป๋าเปรม ขึ้นเป็นผู้บังคับบัญชาที่ศูนย์การทหารม้าเท่านั้นเอง ซึ่งจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นมาจากการติดขัดเ็กๆน้อยๆเท่านั้น ไ่น่าเช่อว่าะกลายาเป็นรรมเนียมหลักที่ปฏิบัติกันมายาวนานหลายปี
หากวิเคราะห์กันแบบลึกๆ การปฏิบัติตามธรรมเนียมอย่างเหนียวแน่น สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของความเป็นอัหนึ่งอันเดียวกันเลยีเดียว เราะธรรเนียมไ่ใช่กฏ ไม่ต้องปฏิบัติตามก็ได้ ไม่มีความผิด แต่หากทุกคนปฏิบัติตามนั่นแสดงให้เห็นถึงความแน่นแฟ้น และความรักที่มีต่อต้นสังกัด
แต่ทั้งนี้ธรรมเนียมที่สืบทอดกันนั้นจะต้องสร้างสรรค์ ไม่ใช่เป็นการส่งต่อธรรมเนียมการ…(อะไรที่ไม่ดี) ต่อกัไปจากรุ่น สู่รุ่น